2554-09-23

กาแฟลาวคู่แข่งที่กำลังมาแรง

วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพดีของลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านติดลำน้ำโขงมาฝาก เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ หากเราไม่ใส่ใจเรื่องการผลิตเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ เราอาจโดนเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม หรือลาวแย่งส่วนแบ่งไปก็เป็นได้ใครจะรู้
ในอดีตนั้นประเทศลาวเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้นำพันธ์กาแฟเข้ามาปลูกในลาวในตอนต้นศตวรรษที่ 19 แต่ก็ล้มลุกคลุกคลานเรื่อยมาด้วยผลของสายพันธุ์กาแฟ ภัยธรรมชาติและที่สำคัญภัยจากสงคราม พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ยังมีลูกระเบิดที่ยังไม่ได้รับการกู้อยู่ในมากมายดิน ทำให้ชาวไร่ชาวสวนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาหรือชาวเผ่า ไม่กล้าออกไปทำไร่ทำสวน แม้ปัจจุบันการเก็บกู้ระเบิดก็ทำไปได้มากแล้ว แต่ก็ยังมีหลงเหลืออยู่พื้นที่ไม่การปลูกกาแฟกันมากที่สุด คือบริเวณพื้นที่ราบสูงโบลาเวน(BolaVen Plateau) เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำหรับการรบระหว่างทหารอเมริกันกับเวียดนาม พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตนครจำปาศักติ์ทางภาคใต้เองประเทศลาว พื้นที่นี้มีความสูงเฉลี่ย 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลซึ่งเหมาะที่จะปลูกกาแฟพันธุ์อาราบีก้ามาก
พื้นที่การเพาะปลูกกาแฟของประเทศลาวยังถือได้ว่าเป็นพื้นที่ๆสมบูรณ์มาก ผลผลิตที่ได้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตที่ไม่ได้ใช้สารเคมีเลยเพราะความสมบูรณ์ของพื้นดิน

เดิมทีกาแฟที่ปลูก ส่วนใหญ่เป็นกาแฟพันธ์โรบัสต้าเพราะมีความต้านทานโรคสูงและสายพันธุ์ที่นำมาปลูกก็มาจากประเทศเวียดนามชึ่งไต้ซื่อว่าเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟไต้มากเป็นอันดับสองของโลก แต่จากการศึกษาก็พบว่าพื้นที่นี้เหมาะที่จะปลูกกาแฟพันธ์อาราบีก้ามาก รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบีก้าสายพันธุ์ คาทีมอร์(Catimor) ซึ่งมีความต้านทานโรคสูงให้มากขึ้นในบริเวณที่ราบสูงนี้ และทางรัฐบาลเองก็มีโครงการที่จะเพิ่มผลผลิตของกาแฟพันธุ์อาราบีก้า ให้ไดเกินกว่า 50 % ของผลผลิตของกาแฟโรณัสต้าที่ปลูกได้ในประเทศและที่สำคัญราคาของกาแฟอาราบีก้านั้นสูงกว่ากาแฟโรบัสต้ามากด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยังคงใช้แรงงานคนชาวเผ่าพื้นเมือง ซึ่งรายได้ของคนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับผลผลิตกาแฟอย่างเดียว และเพื่อเป็นการให้กำลังใจกับคนงาน เจ้าของไร่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติกับผู้ที่สามารถเก็บผลกาแฟที่สุกเต็มที่มาส่งที่โรงงาน ซี่งก็เป็นแรงจูงใจให้กับคนงานที่จะเลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกเต็มที่เท่านั้น และเป็นการควบคุมคุณภาพของผลผลิตไปในตัวผลผลิตของกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของลาวจะผ่านขบวนการล้างแบบแห้ง ส่วนกาแฟอาราบีก้าจะผ่านขบวนการล้างแบบเปียก

ปัจจุบันสิ่งที่เจ้าของไร่หรือเจ้าของส่วนต้องคำนึงถึงคือคุณภาพของการเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีในการเก็บรักษาไปจนถึงการคั่ว เมล็ตกาแฟสุกที่เก็บไดมักจะทำให้หมตคุณภาพไปโตยการขาดการเอาใจใส่ในขั้นตอนของการล้า้ง การตาก การคั่ว และการบรรจุ โดยเฉพาะการคั่ว คุณภาพของกาแฟที่ปลูกได้อยู่ในขั้นด แต่ผ่านกรรมวิธีการคั่วแบบชาวบ้านซึ่งใช้ความรู้การคั่วแบบโบราณ โดยใส่ส่วนผสมบางอย่างลงไปในขณะคั่วทำให้กาแฟเสียรสชาติที่ดีไป ดังนั้นถ้ามีการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับชาวไร่หรือเจ้าของโรงงานขนาดเล็กกาแฟลาวก็จะเป็นกาแฟที่สามารถเจาะตลาดโลกได้เพราะผลผลิตที่ได้ไมเป็นรองใครแม้แต่ผู้ปลูกกาแฟของไทยเองก็จะมีกาแฟของประเทศลาวเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเราไม่ว่าจะเป็นลาวหรือเวียดนามต่างก็หันมาสนใจคุณภาพของผลผลิต ถ้าเราไม่สนใจเราก็จะเสียโอกาสที่ดีไป บริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ใช้เงินลงทุนสูงไปลงทุนร่วมมือกับรัฐบาลลาว พัฒนากาแฟลาวทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเพื่อนำไปสู่การส่งออก คาดว่าอีกไม่นานเราก็คงได้เห็นกาแฟลาวสู่ตลาดโลก