2554-09-23

กาแฟลาวคู่แข่งที่กำลังมาแรง

วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพดีของลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านติดลำน้ำโขงมาฝาก เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ หากเราไม่ใส่ใจเรื่องการผลิตเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ เราอาจโดนเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม หรือลาวแย่งส่วนแบ่งไปก็เป็นได้ใครจะรู้
ในอดีตนั้นประเทศลาวเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้นำพันธ์กาแฟเข้ามาปลูกในลาวในตอนต้นศตวรรษที่ 19 แต่ก็ล้มลุกคลุกคลานเรื่อยมาด้วยผลของสายพันธุ์กาแฟ ภัยธรรมชาติและที่สำคัญภัยจากสงคราม พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ยังมีลูกระเบิดที่ยังไม่ได้รับการกู้อยู่ในมากมายดิน ทำให้ชาวไร่ชาวสวนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาหรือชาวเผ่า ไม่กล้าออกไปทำไร่ทำสวน แม้ปัจจุบันการเก็บกู้ระเบิดก็ทำไปได้มากแล้ว แต่ก็ยังมีหลงเหลืออยู่พื้นที่ไม่การปลูกกาแฟกันมากที่สุด คือบริเวณพื้นที่ราบสูงโบลาเวน(BolaVen Plateau) เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำหรับการรบระหว่างทหารอเมริกันกับเวียดนาม พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตนครจำปาศักติ์ทางภาคใต้เองประเทศลาว พื้นที่นี้มีความสูงเฉลี่ย 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลซึ่งเหมาะที่จะปลูกกาแฟพันธุ์อาราบีก้ามาก
พื้นที่การเพาะปลูกกาแฟของประเทศลาวยังถือได้ว่าเป็นพื้นที่ๆสมบูรณ์มาก ผลผลิตที่ได้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตที่ไม่ได้ใช้สารเคมีเลยเพราะความสมบูรณ์ของพื้นดิน

เดิมทีกาแฟที่ปลูก ส่วนใหญ่เป็นกาแฟพันธ์โรบัสต้าเพราะมีความต้านทานโรคสูงและสายพันธุ์ที่นำมาปลูกก็มาจากประเทศเวียดนามชึ่งไต้ซื่อว่าเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟไต้มากเป็นอันดับสองของโลก แต่จากการศึกษาก็พบว่าพื้นที่นี้เหมาะที่จะปลูกกาแฟพันธ์อาราบีก้ามาก รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบีก้าสายพันธุ์ คาทีมอร์(Catimor) ซึ่งมีความต้านทานโรคสูงให้มากขึ้นในบริเวณที่ราบสูงนี้ และทางรัฐบาลเองก็มีโครงการที่จะเพิ่มผลผลิตของกาแฟพันธุ์อาราบีก้า ให้ไดเกินกว่า 50 % ของผลผลิตของกาแฟโรณัสต้าที่ปลูกได้ในประเทศและที่สำคัญราคาของกาแฟอาราบีก้านั้นสูงกว่ากาแฟโรบัสต้ามากด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยังคงใช้แรงงานคนชาวเผ่าพื้นเมือง ซึ่งรายได้ของคนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับผลผลิตกาแฟอย่างเดียว และเพื่อเป็นการให้กำลังใจกับคนงาน เจ้าของไร่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติกับผู้ที่สามารถเก็บผลกาแฟที่สุกเต็มที่มาส่งที่โรงงาน ซี่งก็เป็นแรงจูงใจให้กับคนงานที่จะเลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกเต็มที่เท่านั้น และเป็นการควบคุมคุณภาพของผลผลิตไปในตัวผลผลิตของกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของลาวจะผ่านขบวนการล้างแบบแห้ง ส่วนกาแฟอาราบีก้าจะผ่านขบวนการล้างแบบเปียก

ปัจจุบันสิ่งที่เจ้าของไร่หรือเจ้าของส่วนต้องคำนึงถึงคือคุณภาพของการเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีในการเก็บรักษาไปจนถึงการคั่ว เมล็ตกาแฟสุกที่เก็บไดมักจะทำให้หมตคุณภาพไปโตยการขาดการเอาใจใส่ในขั้นตอนของการล้า้ง การตาก การคั่ว และการบรรจุ โดยเฉพาะการคั่ว คุณภาพของกาแฟที่ปลูกได้อยู่ในขั้นด แต่ผ่านกรรมวิธีการคั่วแบบชาวบ้านซึ่งใช้ความรู้การคั่วแบบโบราณ โดยใส่ส่วนผสมบางอย่างลงไปในขณะคั่วทำให้กาแฟเสียรสชาติที่ดีไป ดังนั้นถ้ามีการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับชาวไร่หรือเจ้าของโรงงานขนาดเล็กกาแฟลาวก็จะเป็นกาแฟที่สามารถเจาะตลาดโลกได้เพราะผลผลิตที่ได้ไมเป็นรองใครแม้แต่ผู้ปลูกกาแฟของไทยเองก็จะมีกาแฟของประเทศลาวเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเราไม่ว่าจะเป็นลาวหรือเวียดนามต่างก็หันมาสนใจคุณภาพของผลผลิต ถ้าเราไม่สนใจเราก็จะเสียโอกาสที่ดีไป บริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ใช้เงินลงทุนสูงไปลงทุนร่วมมือกับรัฐบาลลาว พัฒนากาแฟลาวทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเพื่อนำไปสู่การส่งออก คาดว่าอีกไม่นานเราก็คงได้เห็นกาแฟลาวสู่ตลาดโลก

2554-09-12

กาแฟในประเทศไทย

วันนี้มาดูประวัติความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทยกันดีกว่าว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มีต้นกำเนิดมาอย่างไร
กาแฟในเมืองไทยตามหลักฐานที่มีการบันทึก ทำให้เชื่อได้ว่ามีการเพาะปลูกกันมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งโดยนำเมล็ดพันธุ์หรือต้นกาแฟจากชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายหรือเข้ามารับราชการในสมัยนั้นและมีการปลูกกันในครั้งแรกในทางใต้ที่จังหวัดสงขลาและชุมพร ส่วนทางตะวันออกคือที่จังหวัดจันทบุรี แต่เนื่องจากรสชาติอมตะของกาแฟคือรสขมทำใหม่เป็นที่นิยมดื่มของคนในสมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระองคด้มีการให้นำมาทดลองปลูกในพระบรมมหาราชวัง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น ความสนใจดื่มกาแฟเริ่มมีมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเพิ่มมากขึ้นจนถึง
ปัจจุบันในสมัยรัชกาล 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้โครงการหลวงและกรมวิชาการเกษตร ทำการคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอาราบีก้าที่เหมาะสมมาทดลองปลูกทางภาคเหนือเพี่อทดแทนการปลูกฝิ่น จนปัจจุบันนี้กาแฟที่ปลูกในแถบบริเวณภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นกาแฟที่มีข้อและเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติและกลายเป็นผลผลิตส่งออกทีสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้อย่างดี

ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลูกกาแฟเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ก็เริ่มปลูกกาแฟกันมากขึ้น กาแฟที่ปลูกเป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้าซึ่งก็ให้ผลดีสำหรับพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทยและมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้แข็งแรง มีความต้านทานไรคสูงและให้ผลผลิตที่ดี จนผลผลิตในปัจจุบันก็ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกไม่แพ้ผู้ปลูกทางภาคเหนือ

ปัจจุบันมีร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายทั้งในกรุงเทพฯและในต่างจังหวัด เชื่อกันว่าร้านกาแฟร้านแรกที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ น่าจะเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยมีชื่อว่า “นรสิงห์” และหลังจากนั้นก็มีร้านกาแฟเกิดขึ้นอีกหลายร้าน ในจำนวนร้านกาแฟที่เกิดขี้นและยังคงมีชื่ออยู่จนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ ร้าน “ ตุงฮู” ซึ่งเป็นร้านขายของชำและมีกาแฟบดจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ ปัจจุบันก็จำหน่ายกาแฟบดในชื่อ“กาแฟตงฮู” ส่วนร้านขายกาแฟชงที่มีชื่อเสียงที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันคือร้านกาแฟ“ เอี๊ยแซ” ซึ่งยังคงให้เห็นและให้ผู้คนได้ลิ้มรสอยู่ตามศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าต่างๆในกรุงเทพฯ ปัจจุบันร้านกาแฟเอี๊ยแซก็ได้ใช้การตลาดสมัยใหม่คือการขยายสาขาโดยใช้ระบบแฟรนไขส์ให้กับผู้สนใจ ดังนั้น

อีกสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับกาแฟที่อยู่คู่กับกาแฟในเมืองไทยก็คือ กาแฟโบราณกาแฟโบราณอยู่คู่กับกาแฟไทยมายาวนาน กาแฟโบราณของไทยมีเทคนิคการคั่วที่แตกต่างจากการคั่วกาแฟทั่วไป แต่ละโรงคั่ว ก็มีเทคนิคการคั่วและส่วนผสมทีแตกต่างกัน การชงกาแฟโบราณถ้าจะให้อร่อยก็ต้องใช้วิธีการชงแบบโบราณและผงกาแฟที่คั่วแบบโบราณบวกกับกรรมวิธีการชงและอุปกรณ์ในการชงแบบโบราณ รสชาติที่ได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นกาแฟโบราณอย่างแท้จริง

2554-09-03

ประวัติการเดินทางของเมล็ดกาแฟ


มาดูประวัติการแพร่กระจายตัวของเมล็ดกาแฟ ไปยังแหล่งต่างๆของโลกกัน หลังจากที่เด็กเลี้ยงแกะชาวเอธิโอเปีย ชื่อ คาลดี เจอเมล็ดกาแฟ ผู้คนก็เริ่มนิยมดื่มกาแฟกันโดยยุคแรกๆเป็นการนำเมล็ดกาแฟมาตากแห้งและบดเหมือนยาสมุนไพรทั่วไป ก่อนนำมาต้มแล้วดื่มน้ำ กาแฟได้แพร่กระจายไปบริเวณใกล่เคียง แต่กว่ากาแฟจะเป็นที่รุ้จักของคนทั่วโลกก็ใช้เวลานานถึง 10 ศตวรรษเลยทีเดียว ตำนานสมัยโบราณนั้นกาแฟเป็นของต้องห้ามของชาวอาหรับ การดื่มกาแฟ การค้าขาย และขยายพันธุ์ก็ตกอยู่เพียงชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนเมล็ดกาแฟมากๆ

ประวัติของเมล็ดกาแฟ

แต่ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศ โดยนายบาบา บูดาน ผู้มีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่เมืองไมซู ทางภาคกลางของประเทศอินเดีย ได้เดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะ ก่อนเดินทางกลับจากแสวงบุญ นายบาบา บูตานก็ไต้ไปแสวงหาเมล็ดกาแฟสุกที่ยังไม่ได้ผ่านการต้ม โชคเข้าข้างนายบาบา บูตาน เขาได้เมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้ผ่านการต้มหรือเมล็ดกาแฟดิบมาได้ 6-7 เมล็ด เขาแอบชุกไว้ที่ผ้าคาดเอว เมื่อกลับมาถึงไมซู บ้านของเขา ก็นำมาเพาะและปลูกไว้ทีหลังบ้าน เมื่อต้นกาแฟที่เพาะได้ขี้น ความที่เป็นคนมีน้ำใจดี ใจกว้าง เขาก็แบ่งต้นกล้าที่เพาะได้ให้กับพ่อค้าชาวตัตไปต้นหนึ่ง

พ่อค้าซาวดัตช์เมื่อได้ต้นกาแฟจากนายบาบา บูตาน ก็นำไปทดลองปลูกที่เกาะชวา และประสบความสิาเร็จอย่างงดงาม กาแฟต้นนี้ก็ได้กลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟอินโดนีเซีย ส่วนพ่อค้าชาวดัตช์เมื่อจะเดินทางกลับประเทศของตน ก็ได้นำต้นกล้ากาแฟที่เพาะได้ใหม่นำติดตัวกลับไปด้วย และได้นำไปปลูกที่สวนพฤกษชาติในกรุงอัมสเตอร์ดัม ผลก็คือต้นกล้าต้นนี้ก็กลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟในยุโรป และขยายต่อไปยังอเมริกาใต้ ส่วนต้นกล้าของนายบาบา บูดานกลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟในอินเดีย ที่เล่ามาข้างต้นเป็นตำนานเล่าขานกันมาจากปากต่อปากหาหลักฐานยืนยันค่อนข้างยาก

คราวนี้เราลองมาดูประวัติของกาแฟจากหลักฐานที่มีการบันทึกดูบ้าง หลักฐานชิ้นแรกที่มีการบันทึกเรื่องราวของกาแฟนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในต้นศตวรรษที่ 3
ซึ่งมีการบันทีกโดยนายแพทย์ชาวเปอร์เชียชื่อ ชากาเรียอัลราซี ทำให้เราทราบว่ากาแฟนั้นมีจุดเริ่มต้นจากที่ราบสูงของเอธิโอเปีย จากนั้นก็เริมแผ่ขยายไปยังประเทศยีเมน และในปีค.ศ.1587 มาลาเย จาชีรี ได้รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับกาแฟและมีการบันทึกไว้ว่า กาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มของพระที่อาศัยอยู่ในอารามซูฟี ประเทศยีเมนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอาราเบีย และการคั่วและต้มกาแฟก็ได้เกิดขึ้นที่อารามแห่งนี้และได้กลายเป็นต้นแบบของการคั่วและชงกาแฟอย่างที่เราชงดื่มกันในปัจจุบัน

สาเหตุที่เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมในหมู่พระก็เพราะมีสรรพคุณในการขจัดความง่วงและเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้กับเหล่าพระในเวลาสวดมนต์ และมีชื่อเรียกกันในหมู่พระว่าผลไม้หมักจากถั่ว (wine of thebean) ซึ่งมีชื่อในภาษาอาหรับว่า คาวาห์ (Qahwa) หรือภาษาเตอร์กีซึ่งมีสำเนียงใกล้เคียงกันว่า คาเวห์ (kahve) สันนิษฐานว่า ชื่อนี้น่าจะได้มาจากเมืองคัฟฟา (Kaffa) ในเอธิโจเปีUซึ่งเป็นจตค้นพบผลไม้ชนิตนี้และเชื่อกันว่าเดิมผลไม้พุ่มชนิดนี้มีชื่อเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า บัน หรือ บันนา (Bunn หรือ Bunna หรือ Bunnu) ส่วนชื่อกาแฟ Coffee นั้นเริ่มปรากฏในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ.1598 โดยชื่อนี้ได้นำมาจากภาษาดัตช์จากคำวา โคฟี(koffie) ซึ่งนำมาจากภาษาเตอร์กีว่า คาเวห์ (kahve)