2554-09-03

ประวัติการเดินทางของเมล็ดกาแฟ


มาดูประวัติการแพร่กระจายตัวของเมล็ดกาแฟ ไปยังแหล่งต่างๆของโลกกัน หลังจากที่เด็กเลี้ยงแกะชาวเอธิโอเปีย ชื่อ คาลดี เจอเมล็ดกาแฟ ผู้คนก็เริ่มนิยมดื่มกาแฟกันโดยยุคแรกๆเป็นการนำเมล็ดกาแฟมาตากแห้งและบดเหมือนยาสมุนไพรทั่วไป ก่อนนำมาต้มแล้วดื่มน้ำ กาแฟได้แพร่กระจายไปบริเวณใกล่เคียง แต่กว่ากาแฟจะเป็นที่รุ้จักของคนทั่วโลกก็ใช้เวลานานถึง 10 ศตวรรษเลยทีเดียว ตำนานสมัยโบราณนั้นกาแฟเป็นของต้องห้ามของชาวอาหรับ การดื่มกาแฟ การค้าขาย และขยายพันธุ์ก็ตกอยู่เพียงชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนเมล็ดกาแฟมากๆ

ประวัติของเมล็ดกาแฟ

แต่ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศ โดยนายบาบา บูดาน ผู้มีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่เมืองไมซู ทางภาคกลางของประเทศอินเดีย ได้เดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะ ก่อนเดินทางกลับจากแสวงบุญ นายบาบา บูตานก็ไต้ไปแสวงหาเมล็ดกาแฟสุกที่ยังไม่ได้ผ่านการต้ม โชคเข้าข้างนายบาบา บูตาน เขาได้เมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้ผ่านการต้มหรือเมล็ดกาแฟดิบมาได้ 6-7 เมล็ด เขาแอบชุกไว้ที่ผ้าคาดเอว เมื่อกลับมาถึงไมซู บ้านของเขา ก็นำมาเพาะและปลูกไว้ทีหลังบ้าน เมื่อต้นกาแฟที่เพาะได้ขี้น ความที่เป็นคนมีน้ำใจดี ใจกว้าง เขาก็แบ่งต้นกล้าที่เพาะได้ให้กับพ่อค้าชาวตัตไปต้นหนึ่ง

พ่อค้าซาวดัตช์เมื่อได้ต้นกาแฟจากนายบาบา บูตาน ก็นำไปทดลองปลูกที่เกาะชวา และประสบความสิาเร็จอย่างงดงาม กาแฟต้นนี้ก็ได้กลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟอินโดนีเซีย ส่วนพ่อค้าชาวดัตช์เมื่อจะเดินทางกลับประเทศของตน ก็ได้นำต้นกล้ากาแฟที่เพาะได้ใหม่นำติดตัวกลับไปด้วย และได้นำไปปลูกที่สวนพฤกษชาติในกรุงอัมสเตอร์ดัม ผลก็คือต้นกล้าต้นนี้ก็กลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟในยุโรป และขยายต่อไปยังอเมริกาใต้ ส่วนต้นกล้าของนายบาบา บูดานกลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟในอินเดีย ที่เล่ามาข้างต้นเป็นตำนานเล่าขานกันมาจากปากต่อปากหาหลักฐานยืนยันค่อนข้างยาก

คราวนี้เราลองมาดูประวัติของกาแฟจากหลักฐานที่มีการบันทึกดูบ้าง หลักฐานชิ้นแรกที่มีการบันทึกเรื่องราวของกาแฟนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในต้นศตวรรษที่ 3
ซึ่งมีการบันทีกโดยนายแพทย์ชาวเปอร์เชียชื่อ ชากาเรียอัลราซี ทำให้เราทราบว่ากาแฟนั้นมีจุดเริ่มต้นจากที่ราบสูงของเอธิโอเปีย จากนั้นก็เริมแผ่ขยายไปยังประเทศยีเมน และในปีค.ศ.1587 มาลาเย จาชีรี ได้รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับกาแฟและมีการบันทึกไว้ว่า กาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มของพระที่อาศัยอยู่ในอารามซูฟี ประเทศยีเมนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอาราเบีย และการคั่วและต้มกาแฟก็ได้เกิดขึ้นที่อารามแห่งนี้และได้กลายเป็นต้นแบบของการคั่วและชงกาแฟอย่างที่เราชงดื่มกันในปัจจุบัน

สาเหตุที่เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมในหมู่พระก็เพราะมีสรรพคุณในการขจัดความง่วงและเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้กับเหล่าพระในเวลาสวดมนต์ และมีชื่อเรียกกันในหมู่พระว่าผลไม้หมักจากถั่ว (wine of thebean) ซึ่งมีชื่อในภาษาอาหรับว่า คาวาห์ (Qahwa) หรือภาษาเตอร์กีซึ่งมีสำเนียงใกล้เคียงกันว่า คาเวห์ (kahve) สันนิษฐานว่า ชื่อนี้น่าจะได้มาจากเมืองคัฟฟา (Kaffa) ในเอธิโจเปีUซึ่งเป็นจตค้นพบผลไม้ชนิตนี้และเชื่อกันว่าเดิมผลไม้พุ่มชนิดนี้มีชื่อเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า บัน หรือ บันนา (Bunn หรือ Bunna หรือ Bunnu) ส่วนชื่อกาแฟ Coffee นั้นเริ่มปรากฏในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ.1598 โดยชื่อนี้ได้นำมาจากภาษาดัตช์จากคำวา โคฟี(koffie) ซึ่งนำมาจากภาษาเตอร์กีว่า คาเวห์ (kahve)