2553-08-16

การขอกู้เงินเพื่อเปิดร้านกาแฟ

ผู้ประกอบการที่อยากขอกู้เงิน จะต้องมีแผนการเปิดกิจการหนึ่งฉบับ และหลังจากผ่านการตรวจสอบแล้ว ก็จะส่งแผนการนี้ไปยังธนาคารที่ร่วมมือกันเพื่อจัดสรรเงินกู้
หากเขียนแผนการเปิดกิจการไม่เป็นก็ลองหาหนังสือหรือเวบไซต์ที่มีตัวอย่างการเขียนแผนงานไปลองศึกษาวิธีการเขียนก่อนก็ได้ เพื่อให้สามารถเขียนแผนการเปิดกิจการด้วยตัวเอง ก่อนเปิดกิจการอาจจะลองเขียนแผนการเปิดกิจการให้ตัวเองสักหนึ่งฉบับดูก่อนก็ได้ เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองยังขาดอะไรบ้างหรือยังไม่เข้าใจในจุดไหนแล้วค่อยปรับรายละเอียดในแผนการให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสภาพแวดล้อม การทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเปิดกิจการเป็นอย่างมากนอกจากนี้แผนการที่สมบูรณ์แบบที่สุดจะต้องอาศัยเงินทุนที่เพียงพอด้วยจึงจะสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ ไม่เช่นนั้นก็คงเป็นแค่บทความที่ถูกเก็บทิ้งไว้อยู่ในบ้าน
แผนการเปิดกิจการที่สมบูรณ์และประสบความสำเร็จมีจุดสำคัญหลักสองประการคือ
1. ต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจนเรียบง่าย คนอ่านอ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจ
2. รายละเอียดจะต้องมีสาระและมีข้อมูลที่ละเอียด เป็นระเบียบชัดเจน
รายละเอียดของแผนการเปิดกิจการ
1. ใจความสำคัญ. เจตนารมณ์ในการทำกิจการ เป้าหมายและ รายละเอียด
2. สินค้าหรือบริการ. สภาพการผลิต เบื้องหลังการผลิตปริมาณการผลิต สินค้าหรือบริการ นโยบายในการพัฒนาและขนาดการลงทุน
3. วิเคราะห์ตลาด. วีเคราะห์ผู้บริโภค วิเคราะห์ตลาดวิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ความอยู่รอดของกิจการ ขนาดและแนวโน้มของตลาด ประเมินปริมาณการจำหน่ายล่วงหน้า
4.แผนการตลาด. นโยบายการขายโดยรวม การกำหนดการบริการ การโฆษณา เป็นต้น
5.การดำเนินการ. เวลาทำการ การเลือกสถานที่ประกอบกิจการ นโยบายและแผนการประกอบกิจการ
6.การจัดการด้านบุคลากร โครงสร้างบุคลากร จำนวนพนักงาน โครงสร้างผู้ถือหุ้น เงินลงทุน สัดส่วน
7.แผนการเรื่องทรัพย์สิน การควบคุมต้นทุน ประเมินกำไรล่วงหน้า งบดุลทรัพย์สินและหนี้สิน ประเมินการหมุนเวียนเงินล่วงหน้า และการคืนเงินในอนาคต
8.ประเมินการคืนทุนล่วงหน้า จำกัดระยะเวลาการคืนทุนเป้าหมายด้านทรัพย์สิน
9.ทำการสรุป ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ผู้ประกอบการสามารถศึกษาการเขียนแผนการดำเนินได้จากหนังสือวางแผนการกู้ยืมเงินสำหรับคนหนุ่มสาวที่ต้องการเปิดกิจการหรือหนังสือวางแผนการกู้ยืมเงินสำหรับการเปิดกิจการขนาดเล็ก เพียงแค่นี้ก็สามารถเขียนแผนการดำเนินกิจการที่สมบูรณ์ได้แล้ว
ถึงแม้จะเขียนแผนงานได้อย่างสมบูรณ์แบบก็ไม่แน่ว่าจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ และถึงแม้จะผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล
แต่ก็ไม่แน่ว่าจะผ่านการอนุมัติจากธนาคารหรือไม่ ดังนั้นหากสนใจอยากขอกู้เงิน หากไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ ก้ต้องมีแผนการสำรองหรือเงินทุนสนับสนุนอย่างอื่นเตรียมไว้บ้าง

แหล่งเงินกู้ภาครัฐในประเทศไทย
ธนาคารพัมนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.หรือ SMEbank)

คุณสมบัติ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) ในภาคเอกชน โดยกำหนด กิจการที่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือ ตามจำนวนที่กำหนดโดยกฏกระทรวง โดยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมและธุรกิจ SMES ดังต่อไปนี้
. กจการอุตสาหกรรม
. กิจการค้าปลีก ค้าส่ง
. กิจการการบริการ
. กิจการอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการนิคม / เขต / ส่วนอุตสาหกรรม หรือ นิคม / เขต / สวน SMES
ตามหลักเกณฑ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กิจการอื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการธพว.กำหนด และกิจการที่ขอกู้ต้องมีการลงทุนของผู้ประกอบการขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 20% ของการลงทุนในโครงการ

จำนวนเงินกู้ยืม
. วงเงินให้กู้ขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท และสูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือไม่เกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศ

ระยะเวลาการกู้ยืม
. ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 15 ปี มีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace period) ไม่เกิน 3 ปี

อัตราดอกเบี้ย
ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ในระหว่างปลอดชำระคืนเงินต้น
เมื่อพ้นระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น ให้ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย เป็นรายเดือน หรือตามความเหมาะสมของรายได้ของกืจการ
ที่มาของข้อมูล http //www.smebank .co.th

ธนาคารออมสิน
ประเภทสินเชื่อ: สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่
คุณสมบัติ
. เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอาชีพจากหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานเอกชนที่ส่วนราชการรับรองแล้วหรือมีประสบการณ์พื้นฐานในอาชีพที่จะประกอบการมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี

จำนวนเงินกู้ยืม
. ให้กู้ได้ตามความจำเป็น ความเป็นไปได้ของธุรกิจ และความสามารถในการชำระคืนรายละไม่เกิน
200,000 บาท
ระยะเวลาการกู้ิยม : ไม่เกิน 5 ปี (60 เดือน)
อัตกดอกเบี้ย : MLRบวกเพิ่มร้อยละ 2 ที่มาของข้อมูล http://www.gsb.or.th