2553-10-15

เตรียมตัวเป็นเจ้าของร้านกาแฟ

ร้านกาแฟ
คิดอยากจะเป็นเจ้าของร้านกาแฟจะต้องมีเงินลงทุนในการเปิดร้าน หาผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟสักคนมาช่วยคุณดูแลร้าน หรือไม่เอย่างนั้นคุณก็ต้อง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟเสียเอง ในเมื่อต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ แน่นอน คุณเองจะต้องเรียนรู้เรื่องกาแฟ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ การฝึกฝนเทคนิคล้วนต้องใช้เวลาและมีความยากลำบากทั้งสิ้น ตั้งแต่การหาร้านสักแห่งเพื่อเริ่มต้นเรียนรู้ หรือ จ้างอาจารย์มาสอนเทคนิคหรือคุณอาจจะจ่ายเงินเพื่อเข้า คอร์สฝึกฝนอย่างเป็นทางการก็ได้ แล้วแต่ว่าจะตัดสินใจเลือกทางใด เราลองมาดูสิว่ามีวิธีเตรียมตัวเป็นเจ้าของร้านกาแฟอย่างไรบ้าง

วิธีการฝึกฝนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ
หนังสือต่างๆ เกี่ยวกับกาแฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตกาแฟวัฒนธรรมกาแฟ การคั่วกาแฟ อุปกรณ์กาแฟ หรือการสอนว่าจะเป็นบาริสต้าได้อย่างไร เป็นต้น ในหนังสือเหล่านี้ล้วนมี ความรู้และเทคนิค รวมไปถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆอยู่มากมาย หากมีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ คุณอาจจะสามารถเลือกอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ เลยก็ได้ เนื่องจากกาแฟที่มีต้นกำเนิดในต่างประเทศนั้นมีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนาน ดังนั้นหนังสือภาษาต่างประเทศจึงมีข้อมูลมากเพียงพอให้ศึกษาเรียนรู้ และทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องอีกด้วย ทั้งความรู้พื้นฐานเรื่อง เมล็ดกาแฟ ลักษณะเด่นในการผลิต วิธีการปรุงกาแฟ
โครงสร้างของเครื่องชงกาเเฟ เป็นต้น เมื่อออกแรงในการเรียนอย่างมากมาย ก็ได้รับความรู้ที่ไม่อาจประเมินค่าได้จากหนังสือเหล่านั้น จนกลายเป็นเจ้าของร้านกาแฟได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีอาจารย์คอยแนะนำ ปัจจุบันหนังสือเกี่ยวกับกาแฟในท้องตลาดโดยส่วนใหญจะแปลมาจากภาษาญี่ปุ่นหรือไม่ก็เป็นหนังสือที่เขียนโดยชาวอเมริกาหรือยุโรป ถ้าเจ้าของกิจการมีความสามารถทางภาษา
ต่างประเทศก็สามารถศึกษาจากหนังสือต้นฉบับได้โดยตรง

เรียนจากเจ้าของร้านกาแฟ
อาจจะลองมองหาเจ้าของร้านกาแฟสักคนที่คุณชื่นชอบ และเขาเองก็ยินดีทีจะแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า โดยอันดับแรกคุณต้องไปเป็นลูกค้าก่อน ไปดื่มกาแฟ เมื่อไปบ่อยๆ จนกลาย เป็นแขกประจาของร้านนั้นแล้ว ก็หาโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านเกี่ยวกับประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟของเขา รับฟังสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการเปิดร้าน ดูว่าเขาบริการลูกค้าอย่างไร ทำอย่างไรกับกาแฟและดำเนินกิจการอย่างไร
หากคุณอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ โดยเฉพาะคนที่อยากเปิดกิจการนั้น เวลาที่ไปร้านกาแฟไม่ใช่ไปเพียงเพื่อดื่มกาแฟเท่านั้น แต่อาจจะถือโอกาสเรียนรู้รูปแบบการดำเนินกิจการ การบรการ สินค้าและความคิดสร้างสรรค์ของร้านนั้นได้อีกด้วย ไปสังเกตลูกค้าที่มาดื่มกาแฟ รวมทั้งวิธีที่เจ้าของร้านปฏิบิตต่อลูกค้า

เข้าไปฝึกงานตามร้านกาแฟ
อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟอยางรวดเร็วกต้องใปเป็นลูกศิษย์หรือพนักงานในร้านกาแฟสักแห่ง หากตั้งใจและขยันมากเพียงพอ ความรวดเร็วนเละประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ได้รับอาจจะมากกว่าที่ คิดไว้ก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องตั้งใจ เมื่อสองสามเดือนก่อนคุณอาจจะเรียนรู้ในฐานะที่เป็นพนักงานหรือผู้เริ่มต้นทั่วๆ ไป แต่ภายหลังคุณจะต้องเรียนรู้การทำงานและการจัดการภายในร้านในฐานะของเจ้าของกิจการ จึงจะสามรารถเรียนรู้ได้ว่าจะเปิดร้านกาแฟได้อย่างไร เจ้าของร้านจะจัดการเรื่องราวต่างๆและพนักงานอย่างไร ถ้าตัวคุณเองมีแผนผังร้านกาเเฟในใจอยู่แล้วก็สามารถใปเรียนรู้ในร้านที่มีลักษณะคล้ายกันก็ได้ คุณจะได้รู้วิชาการจะเปิดร้านในแบบที่คุณต้องการ จะต้องเตีรยมปัจจัยอะไรบ้างและตัวคุณเองยังขาดอะไรอีกบ้างเจ้าของร้านกาแฟจำนวนมากก่อนจะเปิดร้านกาแฟล้วนมีประสบการณ์การทำงานในร้านกานเฟทั้งนั้น

เรียนรู้การใช้เครื่องชงกาแฟ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการดำเนินกิจการ ให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการเปิดร้าน อีกทั้งยังมีประสบการณ์อีกมากมายในการเป็นผู้จัดการร้าน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ขั้นตอนต่างๆ ในการเปิดร้านของเธอราบรื่นเป็นอย่างมาก

เป็นพนักงานในบริษัทที่เกี่ยวกับกาแฟ
อาจจะทำงานด้านการขายผลิดภัณฑ์นกี่ยวกับกาแฟเช่น เมล็ด กาแฟหรือเครื่องชงกาแฟ แน่นอนว่าจะต้องคุ้นเคยกับความรู้ เกี่ยวกับกาแฟเป็นอย่างดี ไม่เล่นนั้นคงไม่สามารถให้บริการ แก่ลูกค้าได้ การทำธุรกิจให้โดดเด่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นการทำงานกับบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟทั้ง เมล็ดกาแฟและเครื่องชงกาแฟจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการศึกษาหาความรู้เรื่องกาแฟ บริษัทผลิตเมล็ดกาแฟหรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องชงกาแฟบางแห่ง ไม่เพียงแต่จะจำหน่ายสีนค้าเท่านั้น ยังมีการบริการให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการเปิดร้านอีกด้วย ดังนั้นจะต้องมีข้อมูลที่มากเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงขั้นตอนการเปิดร้านและการวางแผน

ติดต่อกับบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายกาแฟ อย่างต่อเนื่อง
ถ้าคุณไม่สามารถทำงานในบริษัทเกี่ยวกับกาแฟได้ ก็สามารถเป็นลูกค้าได้ โดยใช้วิธีการสอบถามราคาและติดต่อกับผู้ประกอบการด้านกาแฟหลายๆ แห่ง สอบถามเพื่อหาความรู้และข้อมูล รวมถึงข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์ตางๆ วิธีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลในเรื่องที่ต้องการอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้คุณจะได้รู้ข้อเสียของยี่ห้อคู่แข่งจากคำพูดของผู้ประกอบการเหล่านี้อีกด้วย และหากตัดสินใจซื้อวัตถุดิบของเา ผู้ประกอบการกอาจจะให้โอกาสในการฝึกฝนการชงกาแฟและให้คำแนะนำแก่คุณอีกด้วย

เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับกาแฟ
ภายในประเทศมีสถาบันวิชาการและองค์กรด้านกาแฟบางแห่ง เช่น สมาคมกาแฟ ที่บางครั้งจะจัดการประชุมอภิปรายเพื่อสอบถามข้อมูลและแนวโน้มการบริโภคกาแฟล่าสุด ซึ่งการประชุมอภิปรายเหล่านี้ก็เป็นแนวทางการเรียนรู้ทีไม่เลวเลยหรือถ้าคุณเดินทางไปต่างประเทศบ่อย โดยเฉพาะประเทศที่ค่อนข้างนิยมการดื่มกาแฟ เช่น ยุโรป อิตาลี ญี่ปุ่น เป็นต้น

อาจจะถือโอกาสไปดูพื้นที่ปลูกกาแฟ ร้านกาแฟ บริษัทผลิตเมล็ดกาแฟ บริษัทผลิตเครื่องชงกาแฟ ซึ่งอาจจะได้ความรู้มากมายอีกที่เกี่ยวข้องกับการเปิดร้าน

ศึกษาข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารค่อนข้างแพร่หลาย ความรวด เร็ว และไร้พรม แดนของอินเตอร์เนททำให้สามารถถ่ายทอดและรับข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว และในอินเตอร์เนตก็มีคนที่มีความสามารถข่อนอยูเมากมาย ขึ่งการติดต่อกับคนเหล่านั้นก็สามารถทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฤๅแฟได้อย่างรวดเร็วคุณสามารถเข้าไปดูเว็บไขต์ของสมาคมต่างๆได้ ในเว็บไซต์ต่างๆ จะมีรายชื่อหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ของสมาคมกาแฟอยู่อีกด้วย ซึ่งครอบคลุมทั้งบริษัทตัวแทนจำหนายเมล็ดกาแฟและเครื่องชงกาแฟ ร้านกาแฟขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับนานาชาติ ผู้อ่านสามารถเข้าไปหาข้อมูลทั้งหมดนี้ได้จากหน้าเว็บ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทั้งความรู้เฉพาะทางและการเปิดร้านกาแฟหรือจะสอบถามเรื่องเทคนิคต่างๆ ก็ล้วนได้รับคำตอบทั้งสิ้นดังนั้นการใช้อินเตอร์เนตและ กระดานข่าวจึงเป็นแนวทางที่ดีอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ ได้ในที่สุด

องค์กรกาแฟนานาชาติ
lnternational coffee organizatlon (ICO)
Specialty Coffee Association ofAmerlca (SCAA)
Specialty Coffee Association of Europe (SCAE)
Specialty Coffee Institute
Cafes Geographiques
Green coffee Association
Organic Coffee Association
Australasian Speclalty Coffee Association (AASCA)
Tea and Coffee Trade

เอเชีย
All Japan Coffee Association

อเมริกา
Coffee Association of Canada
Nationa1 coffee Association of USA

ยุโรป
SCAE' Germany
The British Coffee Association
Nomegian Coffee Association

อเมริกาใต้
Specialty Coffee Assocition of Costarica
Asociation National del Cafe (ANACAFE)
Specialty Coffee Association of Panama
Brazil Speclalty Coffee Association (BSCA)
Specialty Coffee Asociation of Peru

แอฟริกา
Eastern Africa Fine coffees Association

เอเซีย-แปซิฟิก
Hawaii Coffee Association (HCA)
pacific Coast Coffee Association (PCCA)

2553-10-02

เทคนิคการขายกาแฟ

หลังจากเปิดกิจการเรียบร้อย งานตกแต่งเรียบร้อยและติดตั้งเครื่องชงกาแฟแล้ว ก็ถือว่าร้าน
กาแฟเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว ต่อไปก็คือขั้นตอนการประกอบกิจการอย่าง เป็นทางการ แต่ก่อนจะเปิดร้านผู้ประกอบการอาจจะคิดนโยบายการขายขึ้นมาก่อน เพื่อที่หลังจากเปิดร้านแล้วจะได้มีกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้น รวมถึงลูกค้าที่เดินผ่านไปมาบนท้องถนนแวะเข้ามาในร้านแห่งนี้

การขาย เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก การจะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างรวดเรว นอกจากจะอาศัยคนรู้จักอย่างเช่นเพื่อนที่บอกเล่าต่อๆ กันไปแล้ว ก็ยังสามารถอาศัยสื่อ การโฆษณา และนโยบายส่งเสริมการขาย เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้าร้าน เทคนิคการขายกาแฟที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับร้านกาแฟ
มี ดังนี้

1 แจกใบปลิว
ก่อนจะถึงวันเปิดร้านก็นำข่าวเรื่องพิธีเปิดร้าน รวมทั้งจุดเด่น รายการอาหารรวมทั้งราคา ระบุลงไปในใบปลิวแล้วนำไปแจก เพื่อให้ลูกค้าที่อยู่บริเวณรอบๆ รู้ว่ากำลังจะมีร้านกาแฟ แห่งใหม่มาเปิด เจ้าของร้านอาจจะหาคนมาแจกใบปลิวทีหน้าร้านหรือปากทางก็ได้ หรือจะหาสถานที่ที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่ อย่างเช่นตึกสำนักงานขนาดใพญ่ เขตชุมชน เขต การักษา เป็นต้น แล้วนำใบปลิวไปแจกเพื่อกระจายข่าว

2.จัดกิจกรรมทดลองดื่มหรือทดลองขายก่อนเปิดร้าน
ก่อนเปิดร้านอย่างเป็นทางการ เจ้าของร้านจะต้องทดลองเปิดกิจการดูก่อน โดยทั่วไปก็คือ จัดกิจกรรมการทดลองดืมและทตลองขายก่อนเปิดร้านสัก 2-3 วัน ด้านหนึ่งก็เพื่อเตรียมขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานให้คล่องแคล่ว และอีกด้านก็เพื่อสำรวจระดับความพอใจของผู้บริโภคที่มีด่อสินค้าและร้านแห่งนี้ ดังนั้นการลดราคาเพื่อฬดลองขายหรือให้ทดลองดื่มฟรี นอกจากจะนป็นการอุ่นเครื่องก่อนเปิดร้านแล้ว ยังเ๊ป็นการเตรียมพร้อมและปรับตัวหลังจากเปิดกิจการอีกด้วย

3.จุดประเด็นเพื่อสร้างข่าว
ร้านที่เปิดใหม่หากอยากให้มีผลลัพธ์ด้านการขายที่ดี การ โฆษณาโดยใช้สื่อนับว่า เป็นการเผย แพร่ข่าวสารอย่างมี ประสิทธิภาพ แตร้านกาแฟโดยทั่วไปจะมีเงินทุนน้อยและ ขนาดไม่ใหญ่มาก ผู้ประกอบการคงไม่สามารถจ่ายเงินจำนวน มากเพื่อตีพิมพ์โฆษณาในหนังลือพิมพด้ นอกเสียจากว่ามีคน
รู้จัก และข่วยลงโฆษณาให้เพื่อส่งเสริมการชาย ไม่เช่นนั้นหาก ร้านกาแฟใดยทั่วไปต้องการจะมีชื่อเสียงในเวลาอันรวดเร็ว คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย

แต่ในปัจจุบันเนื่องจากสื่อมีพื้นที่สำหรับหัวข้อเรื่องการ บริโภคค่อนข้างมาก และต้องการเผยแพร่ข่าวคราวการบริโภค ใหม่ๆ ให้ผู้อ่านรับรู้ หากร้านกาแฟสามารถจุดประเด็น เช่นมี วิธีการตกแต่งที่โดดเด่น ผสมผสานกิจกรรมด้านศิลปะและ ดนตรี หรือมีแนวคิดในการประกอบการที่เป็นเอกลักษณ์ ก็จะ สามารถดึงดูดความสนใจในสื่อมวลชนมาทำข่าวได้ นอกจาก จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ ของร้านดูมีมูลค่ามากขึ้นอีกด้วย สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการโฆษณาผ่านสื่อก็คือ หลังจากที่ สื่อรายงานข่าวไป แล้วมักจะทำให้มีผู้คนหลั่งไหลมาเป็น จำนวนมาก และเมื่อมีคนเข้าร้านมากก็อาจจะทำให้ บรรยากาศภายในร้านเสียงดัง หรืออาจจะมีผลกระทบในด้าน การบริการเนื่องจากมีพนักงานอยู่จำกัด บางครั้งกลับทำให้ ลูกค้าไม่พอใจและมิอคติอีกมากมาย แล้วกลายเป็นเรื่อง ขายหน้าแทนได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เจ้าของร้านจะต้องเตรียม
รับมือใว้


4.โฆษณา e-commerce ผ่านอินเตอร์เน็ต
ในยุคอินเตอร์เนต ศักยภาพของการเผยแพร่ข่าวสารแบบe-commerce นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามใปได้ โดยทางร้านอาจจะสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

หรือหากไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เจ้าของร้านก็อาจจะเข้าไปในกระดานข่าวเกี่ยวกับการบริโภคตามเว็บไชต์ต่างๆ และใช้วิธีการตั้งหัวข้อเพื่อแนะนำร้านของตัวเองก็ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อโฆษณา หรืออาจจะใช้วิธีการส่งอีเมลล์ หรือใช้ฟอร์เวิร์ดเมลล์ในการเผย แพร่ข่าวสาร ซึ่งก็ เป็นวิธีการโฆษณาได้อีกทางหนึ่ง

ที่มาจากหนังสือ คู่มือการเปิดร้านกาแฟฉบับสมบรูณ์