กระแสการอยากเปิดร้านกาแฟเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จริงๆ แล้วการทำกิจการร้านกาแฟไม่ใช่อาศัยแค่ความฝันอันแสนหวานแล้วจะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นความล้มเหลวของกิจการจึงเกิดได้เช่นกัน แต่ก็ยังมีเจ้าของกิจการกาแฟจำนวนไม่น้อยที่ทำตามความฝัน ทุ่มเทและตั้งใจเดินบนเส้นทางอาชีพนี้ต่อไป
มันจะต้องเจออุปสรรคมากมาย ประตูสู่การเปิดร้านกาแฟนั้นเปิดต้อนรับอยู่แล้ว การเปิดร้านจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องยืนหยัดมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติของกิจการ SMEs กิจการที่สามารถดำเนินการได้มากกว่า 5 ปี มีอยู่ประมาณ 20% เท่านั้น อีก 80 % ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งนี่คือ
“กฎ 8-2” ของตลาด
ดังนั้นเมื่อดูจากตัวเลขเหล่านี้แล้วอัตราการประสบความสำเร็จของผู้ดำเนินกิจการร้านกาแฟโดยเฉลี่ยจึงมีเพียงแค่ร้อยละ20 หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ในบรรดาร้านกาแฟ 10 แห่ง มีอยู่ 8 ร้านที่เมื่อเปิดกิจการแล้วอยู่ได้เพียง 1 -2 ปีก็ประสบกับความยากลำบากในการทำกิจการ ส่วนร้านที่สามารถอยู่ได้เกิน 5 ปีนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อยเสียอีก
ถึงแม้ร้านกาแฟจะประสบความสำเร็จ กิจการรุ่งเรือง แต่หลังจาก 10 ปีไปแล้วก็อาจจะต้องปิดร้านหรือเซ้งกิจการให้ผู้อื่นก็เป็นได้ อย่างเช่นกาแฟกรรมกรในใต้หวัน ที่มียอดขายสูงจนมีชื่อเสียง แต่หลังจากเปิดร้านได้ 10 ปีและพิจารณาถึงการแข่งขันในตลาดแล้ว ท้ายที่สุดก็ต้องเปลี่ยนเจ้าของปรากฏการณ์เหล่านั้นสะท้อนให้เห็นว่าก่อนจะเปิดกิจการเจ้าของร้านกาแฟมักจะมีความฝันอันสวยหรูมากเกินไป และสร้างร้านกาแฟ โดยใช้เพียงแค่ความฝันโดยมองข้างความเป็นจริงไป
โจวเวินเผย รองกรรมการผู้จัดการของกาแฟอิลลี่ ผู้ซึ่งเคยให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดกิจการแก่เจ้าของร้านกาแฟมาแล้วกว่า 400-500 แห่ง ได้พูดคุยกับเจ้าของกิจการร้านกาแฟที่เต็มไปด้วยความใฝ่ฝันในการเปิดร้าน เขาจะต้องให้คนเหล่านั้นถามตัวเองและตอบคำถามตามความจริงก่อนว่า
“ฉันต้องการเปิดร้านกาแฟเพื่ออะไร”
จากนั้นก็รอก็คำตอบของพวกเขาและดูว่าพวกเขามีความเชื่อมั่นในตัวเองและมีความอดทนหรือไม่มีความฮึกเหิมและตั้งใจจริงเพียงใด เพื่อดูว่าเขาอยากเปิดร้านกาแฟหรือเหมาะที่จะเป็นเจ้าของร้านกาแฟจริงๆ หรือเปล่านอกจากจะมีคำถามแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว
สรุปกฎ “6w2H” จากการสัมภาษณเจ้าของกิจการร้านกาแฟที่ประสบความสำเร็จอีกหลายสิบท่าน ให้ผู้ที่ชอบกาแฟได้ลองพิจารณาก่อนจะเปิดร้าน เพื่อลดโอกาสความล้มเหลวให้กับหลายๆ คนที่อยากเป็นเจ้าของร้านกาเเฟโดยนำกฏ “6w2H” ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาถามตัวเองอย่างละเอียดเพื่อประเมินตัวเองให้ดีก่อนเปิดกิจการ
นี่คือกฏ 6W2H
Why….ทำไมจึงอยากเปิดร้านกาแฟ?
คำถามก็คืืออยากเป็นเจ้าของร้านกาแฟหรือเปล่า?
-ในอนาคตจะเปิดร้านกาแฟจริงๆ ใช่ไหม?
-เคยคิดจะเปิดกิจการอย่างอื่นหรือไม่?
-อยากทำงานอิสระและมีเวลาอย่างเสรีใช่หรือไม่?
-อยากได้เงินมากสักหน่อยใช่ไหม?
-อยากสร้างรายได้ด้วยตัวเอง?
-อยากมีแนวทางในการดำเนินกิจการที่แตกต่างออกไปอีกแบบหนึ่งหรือเปล่า?
-หรือว่าแค่ชอบดื่มกาแฟ?
-ชอบสัมผัสกับความโรแมนติกและความสบายใจในแบบกาแฟ ?
-ชอบชงกาแฟและบริการลูกค้าหรือเปล่า?
When…วางแผนจะเปิดร้านกาแฟ เมื่อไหร่?
-รอจนเก็บเงินให้พอแล้วจะเปิด ?
-รอจนเรียนชงกาแฟและทำอาหารเป็น?
-วางแผนว่าจะใช้เวลาเตรียมตัวสัก 3 ปี 5 ปี หรือว่า1 ปีหรือครึ่งปี?
-ตอนนี้เตรียมตัวพร้อมแล้ว สามารถเปิดร้านได้เลย?
-แค่มิความคิดว่าจะเปิดร้าน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเปิดเมื่อไร?
Where...อยากเปิดร้านกาแฟที่ไหน?
-อยากเปิดร้านในพื้นทันทีอยู่ใกล้บ้าน?
-อยากเปิดในเขตการค้าที่มีผู้คนพลุกพล่าน?
-อยากทำการค้าในเขตตึกสำนักงานที่มีกลุ่มคนทำงาน?
-อยากเปิตร้านในที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม ?
-ยังไม่ได้คิดไว้ เจอเมื่อไหร่ก็จะเปิด ?
-มีห้องเป็นของตัวเองสามารถเปิดร้านได้?
-มีร้านแห่งหนึ่งที่ต้องการจะไปเซ้งต่อ ?
-เพื่อนมีห้องว่างสามารถเขาได้?
What…อยากขายอะไรในร้านกาแฟของคุณ?
-อยากเปิดร้านทื่ขายเฉพาะกาแฟเท่านั้น ?
-อยากขายกาแฟและเครืองดื่มชนิดอื่น?
-เติมของว่างจำพวกแซนด์วิชเข้าไปหน่อย?
-ต้องการขายอาหารด้วยหรือเปล่า?
-อยากขายอาหารจีน อาหารฝรั่งหรืออาหารญี่ปุ่นด้วยหรือไม่?
-อยากเปิดร้านกาแฟแบบหลากหลายสักแห่ง?
-ขายทั้งดอกไม้ หนังสือและเครื่องเขียนด้วยหรือเปล่า?
-ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับกาแฟด้วยหรือไม่?
Whom…อยากขายกาแฟของคุณให้แก่ใคร?
กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นคนกลุ่มไหน?
คนทำงาน? นักเรียน? วัยรุ่น? คนในชุมชน? คนในวงการศิลปะวรรณกรรม?
ผู้ชาย? ผู้หญิง? คนที่ชอบกาแฟ คนที่พูดคุยธุรกิจ?
คนทีอยากพักผ่อนสบายๆ คนทีอยากลิ้มรสชาติของชีวิต คนที่มีรายได้สูง?
คนที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง? คนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ?
ไม่รู้จะขายให้กับใคร ขอแค่มีคนเข้าร้านก็พอแล้ว?
Who…ใครจะเป็นคนดำเนินกิจการร้านกาแฟนี้?
ร้านกาแฟแห่งนี้คุณดำเนินการคนเดียวหรือเปล่า?
คุณเป็นแค่เจ้าของที่ออกเงิน? หรือว่าเป็นทั้งเจ้าของร้านและพนักงาน หรือมีหุ้น
ส่วนคนอื่นมาเปิดกิจการด้วย? มีเพื่อนร่วมงานคนอื่นด้วยหรือไม่? ถ้ากิจการรุ่งเรืองแล้วพนักงานไม่พอจะทำอย่างไร? หาพนักงานจากที่ไหน?
ให้เพื่อนสนิทมาช่วย? จ้างพนักงานประจำหรือชั่วคราว?
How much…เปิดร้านกาแฟต้องใช้เงินเท่าไหร่?
คุณรู้ไหมว่าการเปิดร้านต้องใช้เงินอย่างน้อยเท่าไร?
คุณเตรียมเงินลงทุนไว้เท่าไหร่ จะสามารถหายอมได้เท่าไร?
ถ้าเงินไม่พอจะทำอย่างไร? จะหาเงินทุนได้จากที่ไหน? หรือว่าจะกู้ยืม? มีช่องทางกู้ยืมเงินจากที่ไหนบ้าง?
หลังจากกู้ยืมมาแล้วจะรับผิดชอบดอกเบี้ยไหวหรือไม่?
ถ้าขายไม่ได้ เงินทุนที่มีอยู่จะพยุงไว้ได้นานแค่ไหน?
คาดว่าจะใช้เวลาเท่าไรในการคืนทุน? คุณจะเริ่มเตรียมตัวเปิดร้านอย่างไร?
คุณจะเตรียมอะไรบ้าง? มีเทคนิคการชงกาแฟหรือเปล่า?
มีความสามารถในการจัดการหรือไม่? มีประสบการณ์การจัดซื้อหรือเปล่า?
มีความสามารถในการวางแผนการเงินไหม? คุณรู้ไหมว่าจะหาโรงงาน
จำหน่ายวัตถุดิบได้จากที่ไหน?
จะแสดงจุดเด่นของตัวเองอย่างไร? ถ้าขายไม่ได้จะทำอย่างไร? จะยืนหยัดดำเนินกิจการต่อไป
ได้เรื่อยๆ หรือเปล่า?
Thank image from sea.jura.com
2554-01-31
2554-01-19
ข้อควรระวังในการเลือกที่ตั้งร้านกาแฟ
อย่าเลือกร้านกาแฟที่อยู่บนถนนใหญ่
การเปิดร้านกาแฟในเขตชุมชนเมือง หากไม่มีการสนับสนุนด้านเงินทุนที่เข้มแข็งพอ ก็ต้องเลือกเปิดร้านในเขตที่ไม่ใช่ชุมชน
เมือง เพราะ
1. ร้านที่อยู่ริมถนนใหญ่ในเขตชุมชนเมืองมีค่าเช่าที่แพงมาก จนคุณอาจจะอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนและทำการค้าระยะยาวได้ยาก
ร้านกาแฟที่อยูริมถนนใหญ่จะต้องใช้ต้นทุนในการตกแต่งสูง เพราะจะต้องมีการตกแต่งที่โดดเด่นและมีสไตลืจงจะสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าร้านได้
อย่าเลือกร้านกาแฟที่อยู่ในซอย
ร้านกาแฟที่เปิดอยู่ในซอยจะมีต้นทุนค่าเช่าที่ค่อนข้างต่ำทางที่ดีควรจะอยู่ในซอยที่ไม่ไกลจากถนนมากนัก แต่อย่าอยู่ใน
ตรอกเล็กๆ ที่เงียบเชียบและหางไกลโดยเด็ดขาด นอกเสียจากว่าคงจะมีฐานลูกค้าประจำและมีจำนวนลูกค้าเพียงพอที่จะ
รักษาธุรกิจเอาไว้ได้ ไม่เช่นนั้นการเปิดร้านอยู่ในตรอกจะมีข้อจำกัดด้านสถานที่ ไม่เพียงแต่จะมีลูกค้าน้อยมากเท่านั้น ลูกค้า
ยังต้องเสียแรงในการหาร้านอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้มีผู้บริโภคน้อยลง
อย่าเลือกร้านกาแฟที่ ที่ตั้งไม่ดี เพียงเพราะกลัวเสียเวลา
บางคนอยากจะรีบเปัดร้านแต่หาทำเลอยู่นานก็ยังไม่พอใจสุดท้ายก็ยอมเลือกทำเลที่เป็นรอง ยอมเลือกร้านที่ไม่ใช่อย่างที
คิดไว้เพราะไม่อยากรอ สุดท้ายเมื่อมีปัจจัยด้านพื้นที่ที่ไม่ดีพอจึงทำให้มีลูกค้าน้อย การค้าไม่เป็นอย่างที่หวังkว้ ถ้าดูแลร้าน
ไม่ดีก็ต้องประกอบกิจการด้วยความยากลำบาก หากสถานที่ ที่หาได้ไม่เหมาะสมจริงๆ กอย่างดันทุรังเลย ยอมเลื่อนแผนการเปิดร้านออกไปจะดีกว่า อย่าตัดสินใจเลือกทำเลที่ไม่ดีโดย
เด็ดขาด
การพิจารณาเลือกสถานที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต
โดยปกติแล้ว ร้านกาแฟแห่งหนึ่งจะต้องประกอบกิจการระยะยาวจึงจะสามารถคืนทุนได้ ถ้าบริเวณเขตพื้นที่นั้น มีโครงการที่จะพัฒนาหรือสร้างระบบคมนาคม เป็นต้น ก็อาจจะทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก แนวโน้มการพัฒนาอนาคตของบริเวณนี้ก็คงไม่เลวเลย ควรค่าแก่การพิจารณา
เพื่อเป็นทำเลในการเปิดร้าน เช่นบริเวณที่อยู่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะหลังจากมีรถไฟใต้ดินแล้ว ก็ต้องมีผู้คนเช่าเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเป็นแผนการบุกเบิกตลาด
ตลาดขนาดใหญ่หรือแผนการสร้างเมืองใหม่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ๆ และเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าด้วย
จะหาทำเลร้านกาแฟได้จากที่ไหนบ้าง?
โดยทั่วไปร้านที่จะใช้ทำการค้าหากไม่ใช่การเช่าก็ต้องเซ้งหรือไม่มีบ้านที่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นของตัวเองหรือ
มีญาติ หรือเพื่อนสนิทที่คุณสามารถใช้ได้ฟรี(ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า) แน่นอนหากจะซื้อขาดก็ทำได้ แต่การซื้อที่สักแห่งเพื่อเปิดร้านกาแฟนั้น เมื่อดูจากมาตรฐานราคาที่ดินตามที่ต่างๆแล้ว ก็อาจจะ
เป็นการลงทุนที่สูงอย่างคาดไม่ถึงนลยทีเดียวหากคุณมีบ้านเป็นของตัว เองหรือของญาติพี่น้องก็ไม่จำเป็นต้องหาที่ตั้งร้าน แต่หากไม่ได้เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็น
เจ้าของกิจการล้วนต้องออกแรงหาด้วยตัวเองจึงจะสามารถหาร้านที่เหมาะสมได้
1.หาดูตามสถานที่ต่างๆ เช่น ติดถนน หรือซอย คนพลุกพล่าน
หากสนใจอยากเช่าหรือเซ้งร้าน เจ้าของร้านสามารถไปตระเวนหาด้วยตัวเองได้โดยขี่รถจักรยานยนต์ไปตามถนน และตรอกซอกซอยในเขตพื้นที่ที่กำหนดเอาไว้ เพื่อดูว่ามีที่ใหนบ้างที่แปะป้ายประกาศให้เช่าหรือเซ้ง จากนั้นก็ไปหาเจ้าของที่และพูดคุยกับเขาด้วยตัวเอง วิธีนี้ต้องเสียแรงและเวลามาก แต่ก็ช่วยประหยัดค่านายหน้าไปได้ และยังได้เห็นและเข้าใจลักษณะของผู้คนรวมถึงนิสัยการบริโภคในบริเวณนั้นได้อีกด้วย
2.หาผ่านบริษัทนายหน้า
บอกบริษัทนายหน้าที่ดินให้รู้ว่าเราต้องการบ้านแบบไหนทั้งเรื่องเขตพื้นที่ ลักษณะของร้าน ขนาดและที่ตั้ง เป็นต้น ให้นายหน้าออกแรงหาร้านที่เหมาะสมให้ แล้วเราค่อยไปดูด้วยตัวเองอีกทีหนึ่ง หลังจากพอใจแล้วก็จ่ายค่านายหน้าให้ โดยทั่วไปค่านายหน้าจะเป็นครึ่งหนิ่งของค่าเช่า วิธีนี้ก็คือการจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา เจ้าของกิจการจะประหยัดเวลาไปได้มาก
3.หาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต โดยดูจาก แหล่งให้เช่า เซ้งหรือขายกิจการ
ในยุคที่มีการพัฒนาด้านอินเตอร์เนต ข่าวการเช่าหรือเซ้งร้านของหลายๆ ร้านล้วนเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์เกี่ยวกับการเช่า
บ้านหรือการเปิดกิจการด้วยกันทั้งนั้น และบางแห่งยังมีบริการการดูห้องผ่านอินเตอร์เนทอีกด้วย การเข้าไปในอินเตอร์เนทแล้วหาข้อมูลก์โรเช่าร้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตั้ง ขนาดค่าเช่า เป็นต้น จะทำให้คุณสามารถหาร้านที่ต้องการไต้อย่างรวดเร็วหรือใช้เครื่องมือค้นหาโดยพิมพ์คำว่า “เช่าร้าน" หรือ “เซ้งร้าน” ลงใป ก็จะมีข้อมูลออกมายาวเป็นหางว่าว คุณก็อาจจะหาเจาะเข้าไปในเขตพื้นพื้นที่ที่กำหนดไว้อีกทีก็ได้เชนกัน
4.สอบถามข้อมูลจากเจ้าของร้านกาแฟ หรือตัวแทนจำหน่ายกาแฟ
ผู้ที่ประกอบอาชีพเดียวกันล้วนใส่ใจเรื่องความเคลื่อนไหวของกันและกัน เมื่อเจ้าของกิจการมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวอะไร ผู้ที่อยู่ในอาชีพเดียวกันย่อมต้องได้ข่าวก่อนคนอื่น หากอยากจะเปิดร้านและรู้จักกับเจ้าของร้านกา แฟหรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายกาแฟบางแห่ง ก็สามารถสอบถามข้อมูลหรือข่าวคราวจากพวกเขาได้ เมื่อรู้แล้วว่ามีร้านไหนปิดกิจการหรือให้เซ้ง คุณก็จะสามารถหาร้านเพื่อเปิดกิจการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
การเปิดร้านกาแฟในเขตชุมชนเมือง หากไม่มีการสนับสนุนด้านเงินทุนที่เข้มแข็งพอ ก็ต้องเลือกเปิดร้านในเขตที่ไม่ใช่ชุมชน
เมือง เพราะ
1. ร้านที่อยู่ริมถนนใหญ่ในเขตชุมชนเมืองมีค่าเช่าที่แพงมาก จนคุณอาจจะอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนและทำการค้าระยะยาวได้ยาก
ร้านกาแฟที่อยูริมถนนใหญ่จะต้องใช้ต้นทุนในการตกแต่งสูง เพราะจะต้องมีการตกแต่งที่โดดเด่นและมีสไตลืจงจะสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าร้านได้
อย่าเลือกร้านกาแฟที่อยู่ในซอย
ร้านกาแฟที่เปิดอยู่ในซอยจะมีต้นทุนค่าเช่าที่ค่อนข้างต่ำทางที่ดีควรจะอยู่ในซอยที่ไม่ไกลจากถนนมากนัก แต่อย่าอยู่ใน
ตรอกเล็กๆ ที่เงียบเชียบและหางไกลโดยเด็ดขาด นอกเสียจากว่าคงจะมีฐานลูกค้าประจำและมีจำนวนลูกค้าเพียงพอที่จะ
รักษาธุรกิจเอาไว้ได้ ไม่เช่นนั้นการเปิดร้านอยู่ในตรอกจะมีข้อจำกัดด้านสถานที่ ไม่เพียงแต่จะมีลูกค้าน้อยมากเท่านั้น ลูกค้า
ยังต้องเสียแรงในการหาร้านอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้มีผู้บริโภคน้อยลง
อย่าเลือกร้านกาแฟที่ ที่ตั้งไม่ดี เพียงเพราะกลัวเสียเวลา
บางคนอยากจะรีบเปัดร้านแต่หาทำเลอยู่นานก็ยังไม่พอใจสุดท้ายก็ยอมเลือกทำเลที่เป็นรอง ยอมเลือกร้านที่ไม่ใช่อย่างที
คิดไว้เพราะไม่อยากรอ สุดท้ายเมื่อมีปัจจัยด้านพื้นที่ที่ไม่ดีพอจึงทำให้มีลูกค้าน้อย การค้าไม่เป็นอย่างที่หวังkว้ ถ้าดูแลร้าน
ไม่ดีก็ต้องประกอบกิจการด้วยความยากลำบาก หากสถานที่ ที่หาได้ไม่เหมาะสมจริงๆ กอย่างดันทุรังเลย ยอมเลื่อนแผนการเปิดร้านออกไปจะดีกว่า อย่าตัดสินใจเลือกทำเลที่ไม่ดีโดย
เด็ดขาด
การพิจารณาเลือกสถานที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต
โดยปกติแล้ว ร้านกาแฟแห่งหนึ่งจะต้องประกอบกิจการระยะยาวจึงจะสามารถคืนทุนได้ ถ้าบริเวณเขตพื้นที่นั้น มีโครงการที่จะพัฒนาหรือสร้างระบบคมนาคม เป็นต้น ก็อาจจะทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก แนวโน้มการพัฒนาอนาคตของบริเวณนี้ก็คงไม่เลวเลย ควรค่าแก่การพิจารณา
เพื่อเป็นทำเลในการเปิดร้าน เช่นบริเวณที่อยู่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะหลังจากมีรถไฟใต้ดินแล้ว ก็ต้องมีผู้คนเช่าเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเป็นแผนการบุกเบิกตลาด
ตลาดขนาดใหญ่หรือแผนการสร้างเมืองใหม่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดเขตธุรกิจใหม่ๆ และเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าด้วย
จะหาทำเลร้านกาแฟได้จากที่ไหนบ้าง?
โดยทั่วไปร้านที่จะใช้ทำการค้าหากไม่ใช่การเช่าก็ต้องเซ้งหรือไม่มีบ้านที่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นของตัวเองหรือ
มีญาติ หรือเพื่อนสนิทที่คุณสามารถใช้ได้ฟรี(ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า) แน่นอนหากจะซื้อขาดก็ทำได้ แต่การซื้อที่สักแห่งเพื่อเปิดร้านกาแฟนั้น เมื่อดูจากมาตรฐานราคาที่ดินตามที่ต่างๆแล้ว ก็อาจจะ
เป็นการลงทุนที่สูงอย่างคาดไม่ถึงนลยทีเดียวหากคุณมีบ้านเป็นของตัว เองหรือของญาติพี่น้องก็ไม่จำเป็นต้องหาที่ตั้งร้าน แต่หากไม่ได้เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็น
เจ้าของกิจการล้วนต้องออกแรงหาด้วยตัวเองจึงจะสามารถหาร้านที่เหมาะสมได้
1.หาดูตามสถานที่ต่างๆ เช่น ติดถนน หรือซอย คนพลุกพล่าน
หากสนใจอยากเช่าหรือเซ้งร้าน เจ้าของร้านสามารถไปตระเวนหาด้วยตัวเองได้โดยขี่รถจักรยานยนต์ไปตามถนน และตรอกซอกซอยในเขตพื้นที่ที่กำหนดเอาไว้ เพื่อดูว่ามีที่ใหนบ้างที่แปะป้ายประกาศให้เช่าหรือเซ้ง จากนั้นก็ไปหาเจ้าของที่และพูดคุยกับเขาด้วยตัวเอง วิธีนี้ต้องเสียแรงและเวลามาก แต่ก็ช่วยประหยัดค่านายหน้าไปได้ และยังได้เห็นและเข้าใจลักษณะของผู้คนรวมถึงนิสัยการบริโภคในบริเวณนั้นได้อีกด้วย
2.หาผ่านบริษัทนายหน้า
บอกบริษัทนายหน้าที่ดินให้รู้ว่าเราต้องการบ้านแบบไหนทั้งเรื่องเขตพื้นที่ ลักษณะของร้าน ขนาดและที่ตั้ง เป็นต้น ให้นายหน้าออกแรงหาร้านที่เหมาะสมให้ แล้วเราค่อยไปดูด้วยตัวเองอีกทีหนึ่ง หลังจากพอใจแล้วก็จ่ายค่านายหน้าให้ โดยทั่วไปค่านายหน้าจะเป็นครึ่งหนิ่งของค่าเช่า วิธีนี้ก็คือการจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา เจ้าของกิจการจะประหยัดเวลาไปได้มาก
3.หาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต โดยดูจาก แหล่งให้เช่า เซ้งหรือขายกิจการ
ในยุคที่มีการพัฒนาด้านอินเตอร์เนต ข่าวการเช่าหรือเซ้งร้านของหลายๆ ร้านล้วนเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์เกี่ยวกับการเช่า
บ้านหรือการเปิดกิจการด้วยกันทั้งนั้น และบางแห่งยังมีบริการการดูห้องผ่านอินเตอร์เนทอีกด้วย การเข้าไปในอินเตอร์เนทแล้วหาข้อมูลก์โรเช่าร้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตั้ง ขนาดค่าเช่า เป็นต้น จะทำให้คุณสามารถหาร้านที่ต้องการไต้อย่างรวดเร็วหรือใช้เครื่องมือค้นหาโดยพิมพ์คำว่า “เช่าร้าน" หรือ “เซ้งร้าน” ลงใป ก็จะมีข้อมูลออกมายาวเป็นหางว่าว คุณก็อาจจะหาเจาะเข้าไปในเขตพื้นพื้นที่ที่กำหนดไว้อีกทีก็ได้เชนกัน
4.สอบถามข้อมูลจากเจ้าของร้านกาแฟ หรือตัวแทนจำหน่ายกาแฟ
ผู้ที่ประกอบอาชีพเดียวกันล้วนใส่ใจเรื่องความเคลื่อนไหวของกันและกัน เมื่อเจ้าของกิจการมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวอะไร ผู้ที่อยู่ในอาชีพเดียวกันย่อมต้องได้ข่าวก่อนคนอื่น หากอยากจะเปิดร้านและรู้จักกับเจ้าของร้านกา แฟหรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายกาแฟบางแห่ง ก็สามารถสอบถามข้อมูลหรือข่าวคราวจากพวกเขาได้ เมื่อรู้แล้วว่ามีร้านไหนปิดกิจการหรือให้เซ้ง คุณก็จะสามารถหาร้านเพื่อเปิดกิจการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เหล่านี้พอจะเป็นไกด์ไลน์นำทางให้คุณได้ ในการตัดสินใจเลือกสถานที่ในการเปิดร้านกาแฟ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)