2553-08-26

วิเคราะห์กลุ่มนักดื่มกาแฟ

coffee drink
วิเคราะห์กลุ่มนักดื่มกาแฟ
นักดื่มกาแฟนั้นแบ่งออกได้เป็นหลายเพศ หลายวัย เราลองมาดูสิว่า พอจะมีเกณฑ์อะไรบ้างที่ใช้แบ่งพฤติกรรมการดื่มกาแฟ และแต่ละประเภท

1.แบ่งตามกลุ่มคน
กลุ่มคนวัยทำงาน เป็นกลุ่มที่บริโภคกาแฟกลุ่มใหญ่ และเป็นกลุ่มสำคัญ โดยส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน คนที่ชอบดื่มกาแฟรองลงไปจะเป็นนักเรียนและแม่บ้าน
เป็นต้น
ในบรรดากลุ่มคนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น กลุ่มคนทำงานเป็นผู้บริโภคกาแฟจำนวนมากที่สุดโดยคิดเป็นสัดส่วนได้ประมาณ 80% ของผู้บริโภคทั้งหมด
สาเหตุสำคัญคือคนทำงานนิยมการชิมรสชาติ และเหนื่อยจากทำงานหนักจึงต้องการผ่อนคลายและหาความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ดังนั้นร้านกาแฟที่เงียบสงบ
สภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายจืงเป็นพื้นที่ให้คนทำงานได้ระบายความรู้สึกและครุ่นคิดได้อย่างเงียบๆ อีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องบางเรื่องไม่สะดวกที่จะพูดคุยในที่ทำงาน ร้านกาแฟจืงกลาย
เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการพูดคุยและติดต่อสื่อสาร สาเหตุต่อมาที่สำคัญที่สุดก็คือคนทำงานมีรายได้ที่แน่นอนมั่นคง จึงมีความสามารถในการบริโภคค่อนข้างสูง แขกที่ชอบกาแฟจริงๆ และเข้าใจการลิ้มรสกาึ้แฟและ
ยินดีที่จะจ่ายเงิน เพื่อดื่มกาแฟที่อร่อยนั้น มีอยู่เพียงแค่ 1 %เท่านั้น สำหรับกลุ่มนักเรียนนั้นมีกำลังในการบริโภคต่ำแม่บ้านก็เน้นการฆ่าเวลาเป็นหลัก กลุ่มคนเหล่านี้จึงมีสัดส่วนที่ยังน้อยลงไปอีกในตลาดกาเเฟ

2.แบ่งตามอายุ
ผู้บริโภคหลักจะอยู่ในช่วงอายุ 25-45 ปี หากจะดูช่วงอายุของผู้บริโภคกาแฟภายในประเทศแล้ว โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี คนที่อายุ40-60 ปีนั้น
เนื่องจากต้องระมัดระวังเรื่องสุขภาพ เช่นว่าถ้าดื่มกาแฟตอนกลางคืนแล้วจะนอนไม่หลับ ดังนั้นสัดส่วนการดื่มกาแฟจึงน้อยลงมาก สรุปแล้วผู้บริโภคกาแฟหลักๆ ก็คือกลุ่มคนทำงานในช่วงอายุ 25-45 ปี ซึ่งมีรายได้จากการทำงาน

3.แบ่งตามเพศ
คนที่นิยมดื่มกาแฟเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะปัจจุบันผู้หญิงมีรายได้เป็นของตัวเองและมีความสามารถ
โดดเด่น ส่วนใหญ่จึงตอบรับกระแสนิยมมากกว่าผู้ชาย และความต้องการในการบริโภคอาหารรวมถึงความบันเทิงก็มีมาก
กว่าผู้ชายด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วอัตราส่วนของผู้หญิงที่บริโภคกาแฟจึงมีมากกว่าผู้ชายอย่างชัดเจน

4.แบ่งตามอาชีพ
กำลังซื้อหลัก มาจากอาชีพด้านศิลปะ ธุรกิจและวัฒนธรรม แต่เดิมนั้นนักดนตรีและคนที่ชอบดนตรีก็เป็นคนกลุ่มใหญ่
ที่ชอบดื่มกาแฟ ผู้คนในสาขาอาชีพตางๆ เช่น คนที่ทำงานด้านวัฒนธรรมทั้งดนตรี ศิลปะ นักออกแบบ งานบันเทิงและงานสาธารณะ เป็นต้น
คนเหล่านี้ต้องการความเงียบสงบในการครุ่นคิด พิจารณา คิดค้น และค้นหาแรงบันดาลใจ ดังนั้นพวกเขาจึงกลายเป็นแขกประจำของร้านกาเเฟ
นอกจากนี้นักธุรกิจที่เร่งรีบอยู่ภายนอกสำนักงาน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงที่ต้องติดต่อการค้าก็เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของร้าน กาแฟ เช่นกัน

5.แบ่งตามระดับการศึกษา
คนที่มีการศึกษายิ่งสูงยิ่งชอบดื่มกาแฟ ผู้บริโภคที่มีการศึกษาสูง ก็จะยิ่งมีระดับการยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกได้มาก โดยเฉพาะคนที่เคยไปศึกษาที่ต่าง
ประเทศและคนที่เคยไปต่างประเทศ จะได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมการกินดื่มเเละการใ้ชีวิตของชาวต่างาติ โดยส่วน
ใหญ่จะชอบดื่มกาแฟหรือไม่ก็ดื่มกาแฟเป็นประจำ นอกจากนี้คนที่มีการศึกษาสูงกมีโอกาสทำงานที่ดีและมีรายได้สูง ดังนั้น
จึงค่อนข้างมีความสามารถในการบริโภคเเละมีอุปสงค์ต่อกาแฟ ค่อนข้างมากตามไปด้วย

2553-08-16

การขอกู้เงินเพื่อเปิดร้านกาแฟ

ผู้ประกอบการที่อยากขอกู้เงิน จะต้องมีแผนการเปิดกิจการหนึ่งฉบับ และหลังจากผ่านการตรวจสอบแล้ว ก็จะส่งแผนการนี้ไปยังธนาคารที่ร่วมมือกันเพื่อจัดสรรเงินกู้
หากเขียนแผนการเปิดกิจการไม่เป็นก็ลองหาหนังสือหรือเวบไซต์ที่มีตัวอย่างการเขียนแผนงานไปลองศึกษาวิธีการเขียนก่อนก็ได้ เพื่อให้สามารถเขียนแผนการเปิดกิจการด้วยตัวเอง ก่อนเปิดกิจการอาจจะลองเขียนแผนการเปิดกิจการให้ตัวเองสักหนึ่งฉบับดูก่อนก็ได้ เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองยังขาดอะไรบ้างหรือยังไม่เข้าใจในจุดไหนแล้วค่อยปรับรายละเอียดในแผนการให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสภาพแวดล้อม การทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเปิดกิจการเป็นอย่างมากนอกจากนี้แผนการที่สมบูรณ์แบบที่สุดจะต้องอาศัยเงินทุนที่เพียงพอด้วยจึงจะสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ ไม่เช่นนั้นก็คงเป็นแค่บทความที่ถูกเก็บทิ้งไว้อยู่ในบ้าน
แผนการเปิดกิจการที่สมบูรณ์และประสบความสำเร็จมีจุดสำคัญหลักสองประการคือ
1. ต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจนเรียบง่าย คนอ่านอ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจ
2. รายละเอียดจะต้องมีสาระและมีข้อมูลที่ละเอียด เป็นระเบียบชัดเจน
รายละเอียดของแผนการเปิดกิจการ
1. ใจความสำคัญ. เจตนารมณ์ในการทำกิจการ เป้าหมายและ รายละเอียด
2. สินค้าหรือบริการ. สภาพการผลิต เบื้องหลังการผลิตปริมาณการผลิต สินค้าหรือบริการ นโยบายในการพัฒนาและขนาดการลงทุน
3. วิเคราะห์ตลาด. วีเคราะห์ผู้บริโภค วิเคราะห์ตลาดวิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ความอยู่รอดของกิจการ ขนาดและแนวโน้มของตลาด ประเมินปริมาณการจำหน่ายล่วงหน้า
4.แผนการตลาด. นโยบายการขายโดยรวม การกำหนดการบริการ การโฆษณา เป็นต้น
5.การดำเนินการ. เวลาทำการ การเลือกสถานที่ประกอบกิจการ นโยบายและแผนการประกอบกิจการ
6.การจัดการด้านบุคลากร โครงสร้างบุคลากร จำนวนพนักงาน โครงสร้างผู้ถือหุ้น เงินลงทุน สัดส่วน
7.แผนการเรื่องทรัพย์สิน การควบคุมต้นทุน ประเมินกำไรล่วงหน้า งบดุลทรัพย์สินและหนี้สิน ประเมินการหมุนเวียนเงินล่วงหน้า และการคืนเงินในอนาคต
8.ประเมินการคืนทุนล่วงหน้า จำกัดระยะเวลาการคืนทุนเป้าหมายด้านทรัพย์สิน
9.ทำการสรุป ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ผู้ประกอบการสามารถศึกษาการเขียนแผนการดำเนินได้จากหนังสือวางแผนการกู้ยืมเงินสำหรับคนหนุ่มสาวที่ต้องการเปิดกิจการหรือหนังสือวางแผนการกู้ยืมเงินสำหรับการเปิดกิจการขนาดเล็ก เพียงแค่นี้ก็สามารถเขียนแผนการดำเนินกิจการที่สมบูรณ์ได้แล้ว
ถึงแม้จะเขียนแผนงานได้อย่างสมบูรณ์แบบก็ไม่แน่ว่าจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ และถึงแม้จะผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล
แต่ก็ไม่แน่ว่าจะผ่านการอนุมัติจากธนาคารหรือไม่ ดังนั้นหากสนใจอยากขอกู้เงิน หากไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ ก้ต้องมีแผนการสำรองหรือเงินทุนสนับสนุนอย่างอื่นเตรียมไว้บ้าง

แหล่งเงินกู้ภาครัฐในประเทศไทย
ธนาคารพัมนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.หรือ SMEbank)

คุณสมบัติ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) ในภาคเอกชน โดยกำหนด กิจการที่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือ ตามจำนวนที่กำหนดโดยกฏกระทรวง โดยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมและธุรกิจ SMES ดังต่อไปนี้
. กจการอุตสาหกรรม
. กิจการค้าปลีก ค้าส่ง
. กิจการการบริการ
. กิจการอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการนิคม / เขต / ส่วนอุตสาหกรรม หรือ นิคม / เขต / สวน SMES
ตามหลักเกณฑ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กิจการอื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการธพว.กำหนด และกิจการที่ขอกู้ต้องมีการลงทุนของผู้ประกอบการขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 20% ของการลงทุนในโครงการ

จำนวนเงินกู้ยืม
. วงเงินให้กู้ขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท และสูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือไม่เกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศ

ระยะเวลาการกู้ยืม
. ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 15 ปี มีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace period) ไม่เกิน 3 ปี

อัตราดอกเบี้ย
ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ในระหว่างปลอดชำระคืนเงินต้น
เมื่อพ้นระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น ให้ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย เป็นรายเดือน หรือตามความเหมาะสมของรายได้ของกืจการ
ที่มาของข้อมูล http //www.smebank .co.th

ธนาคารออมสิน
ประเภทสินเชื่อ: สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่
คุณสมบัติ
. เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอาชีพจากหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานเอกชนที่ส่วนราชการรับรองแล้วหรือมีประสบการณ์พื้นฐานในอาชีพที่จะประกอบการมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี

จำนวนเงินกู้ยืม
. ให้กู้ได้ตามความจำเป็น ความเป็นไปได้ของธุรกิจ และความสามารถในการชำระคืนรายละไม่เกิน
200,000 บาท
ระยะเวลาการกู้ิยม : ไม่เกิน 5 ปี (60 เดือน)
อัตกดอกเบี้ย : MLRบวกเพิ่มร้อยละ 2 ที่มาของข้อมูล http://www.gsb.or.th

2553-08-10

กฎหมายเกี่ยวกับกาแฟ

การจะเปิดร้านกาแฟนั้น ต้องรู้หลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับกาแฟไว้บ้าง เพราะทุกที่ต้องมีกฎกติกา หากเราต้องการเปิดร้านกาแฟและจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์แล้ว ควรรู้กฎหมายเกี่ยวกับกาแฟไว้


(สำเนา)
ประกาศกระทรวงสาธารณะสุข
(ฉบับที่ 197)พ.ศ.2543
เรื่องกาแฟ
------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย
เรี่อง กาแฟ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 (3) (4) (5) (6)
(7) และ (10) แห่งพระราชบัญญิตอาหาร พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติ
ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง
มาตรา 29 ประออบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2527) เรื่องกาแฟ
ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2527
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2533) เรื่อง
กาแฟ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2533
(3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181 ) พ.ศ. 2540 เรื่อง
กาแฟ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ข้อ 2 ให้กาแฟที่คั่วแล้ว เป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรีอมาตรฐาน

ข้อ 3 กาแฟตามข้อ 2 แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังต่อไปนี้
( 1) กาแฟแท้ หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลที่แก่จัดของต้น
กาแฟในสกุล คอฟเฟีย (coffea) ผ่านกรรมวิธีเอาเมล็ดออก นำเมล็ดมาคั่ว
จนได้ที่ และอาจบดให้ได้ขนาดตามความต้องการ
(2) กาแฟผสม หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอาแฟตาม (1)
ที่มีสิ่งอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
(3) กาแฟที่สกัดกาเฟอีนออก หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
กาแฟตาม ( 1 ) ที่ได้สกัดเอากาเฟอีนออก
(4) กาแฟสำเร็จใป หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลที่แก่่จัด
ของต้นกาแฟในสกุลคอฟเฟีย ผ่านกรรมวิธีเอาเมล็ดออก นำเมล็ดมาคั่วจนได้ที
โดยมิได้มีการผสมสิ่งอื่นใด แล้วนำมาสกัดด้วยน้ำเท่านั้น นำไประเหยน้ำออก
จนแห้งด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นผง หรือเป็นเกล็ด หรือลักษณะ
อื่นๆ นเละสามารถละลายน้ำได้หมดทันที
(5) กาแฟสาเร็จรูปผสม หมายความว่า กาแฟสำเร็จรูปตาม (4) ที
มีสิ่งอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
(6) กาแฟสาเร็จรูปที่สกัดกาเฟอีนออก หมายความว่า ผลิตภัณท์ที
ได้จากกาแฟตาม (4) ที่ได้สกัดเอากาเฟอีนอออ ในกรณีที่นำกาแฟตาม ( 1 )
(2) (3) (4) (5) หรีอ (6) มาปรุงแต่งรสในลักษณะพร้อมบริโภคและบรรจุใน
ภาชนะปิดสนิท ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นชนิดเหลวหรีอแห้ง ให้ถือว่า
เป็นกาแฟงงต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย

ข้อ 4 กาแฟแท้ต้องมีคุณกาพหรีอมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
( 1 ) มีกลิ่นและรสของกาแฟแท้
(2) มีเถ้าทั้งหมดไม่เกิินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก และเถ้าทั้งหมดนั้นต้องละลายน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของน้ำหนัก
(3) มีกาเฟอีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก
(4) มีน้ำตาล คำนวณเป็นน้ำตาลอินเวิร์ตทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละ 1.5 ของน้ำหนัก
(5) ไม่ผสมวัตถุอื่นใด ยกเว้นวัตถุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ใช้เพื่อสารคั่วและแต่่งกลิ่น
(6) ไม่ใช้สี เว้นแต่สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้หรือสีคาราเมล

ข้อ 5 กาแฟผสมต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีกาแฟเป็นส่วนผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักเมื่อแห้ง
(2) ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ตามมาตรจาน เอฟ เอ โอ
ดับบลิว เอช โอ โคเด็กช์ (Joint FAO/WHO' codex) ที่ว่าด้วยเรื่องวัตถุ
เจือปนอาหาร และฉบับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีมาตรฐาน กำหนดไว้
ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
(3) มีคุณภาพหรีอมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข้อ 6 กาแฟที่สกัดกาเฟอีนออก ต้องมีคุณภาพหรือมาตรจานดังต่อไปนี้
(1 ) มีกาเฟอีนไม่เกินร้อยละ 0. 1 ของน้ำหนัก
(2) มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา

ข้อ 7 กาแฟสำเร็จรูป ต้องมีคุณภาพหรีอมาตรฐานดังต่อไปนี้
( 1 ) มีกลิ่นและรสของกาแฟแท้
(2) มีความจ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
(3) มีเถ้าทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักเมื่อแห้ง
(4) มีกาเฟอีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 ของน้ำหนัก

ข้อ 8 กาแฟสำเร็จรูปผสม ต้องมีคุณภาพหรีอมาตรฐานดังต่อไปนี้
(1) มีความจ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
(2) มีกาเฟอีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของน้ำหนัก
(3) ไม่ใช้สี เว้นเเต่ สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้หรือสีคาราเมล
(4) ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ตามมาตรฐาน เอฟ เอ โอ/ดับบลิว นอช โอ โคเด็กช์ (Jolnt FAO/WHO' codex) ที่ว่าด้วยเรี่อง วัตถุ
เจือปนอาหาร และฉบ้บที่ได้แก้ใขเพิ่มนติมในกรณีที่ไม่มีมาตฐานกำหนดไว้
ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
(5) มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข้อ 9 กาแฟสำเร็จรูปที่สกัดกาเฟอีนออก ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานดังต่อไปนี้
(1) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
(2) มีอาเฟอีนไม่เกินร้อยละ 0.3 ของน้ำหนัก
(3) มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา

ข้อ10 กาแฟตามวรรคสองของข้อ 3 ชนิดเหลว ต้องมีคุณภาพหรือมาตรจาน
ดังต่อไปนี้
( 1) มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของกาแฟนั้น
(2) มีกาเฟอีนไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อกาแฟปรุงสำเร็จชนิดเหลว
100 มิลลิลิตร และกาเฟอีนดังกล่าวต้องมาจากกาแฟที่ใช้เป็นวัตถุดิบเท่านั้น
(3) ตรวจพบแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม น้อยกว่า 2.2 ต่อกาแฟ 100
มิลลิลิตร โดยวิธีเอ็ม พี เอ็น (Most Proboble Number)
(4) ตรวจไม่พบแบคทีเรียชนิด อี.โคไล (Escherichia Coli)
(5) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
(6) ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์หรือสารเป็นพิษอื่นในปริมาณที่
อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(7) ไม่มียีสต์และเชื้อรา
(8) ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ตามมาตรฐาน เอฟ เอ โอ
ตับบลิว เอช โอ โคเด็กช์ (Joint FAO/WHO' codex) ที่ว่าด้วยเรื่อง วัตถุ
เจือปนอาหาร และฉบับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีมาตรการกำหนดไว้
ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดโดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร (9) มีวัตถุกันเสียได้ ดังต่อไปนี้
(9.1) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม ต่อกาแฟปรุงสำเร็จ 1 กิโลกรัม
(9.2) กรดเบนโซอิค หรือกรดซอร์บิค หรือเกลีอของกรดทั้งสองนี้ โดย
คำนวณเป็นตัวกรดได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อกาแฟปรุงสำเร็จ 1 กิโลกรม
การใช้วัตถุกันเสียให้ใช้ได้เพียงชนิดหนึ่งชนิดใตตามปริมาณที่
กำเนิดใน (9.1 ) หรีอ (9.2) ถ้าใช้เกินหนึ่งชนิด ต้องมีปริมาณรวมกันไม่เกิน
ปริมาณของวัตถุกันเสียชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด
เมื่อจำเป็นต้องใช้วัตฤอันเสียแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ดังกล่าว
ข้างต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข้อ 11 กาแฟปรุงสำเร็จชนิดแห้ง ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
( 1) ความชื้นได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก
(2) เมื่อละลายหรือผสมน้ำตามที่กำหนดไว้ในฉลาก ต้องมีคุณภาพ
หรีอมาตรฐานตามข้อ 10

ข้อ 12 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ากาแฟเพี่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ใน
การผลิต และการเก็บรักษาอาหาร

ข้อ 13 การใช้ภาชนะบรรจุกาแฟ ให้ปฏิบิตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยเรื่อง ภาชนะบรรจุ

ข้อ 14 การแสดงฉลากของกาแฟ ให้ปฏิบิตตามประกาศอระทรวงสาธารพสุข
ว่าด้วยเรื่อง ฉลาก

ข้อ 15 ให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือใบสำคัญการใช้ฉลาก
อาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2527)
เรื่อง กาแฟ ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2533) เรี่องกาแฟ
(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และประกาศกระทรวง
สาธารณสุข (ฉบับที่ 181) พ.ศ. 2540 เรื่อง กาแฟ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ชึ่งออกใช้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ยังคงใช้ต่อไปได้อีกสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

ข้อ 16 ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้ากาแฟที่ได้รับอนุญาตอยู่อ่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ยื่นคำขอรับเลขสารบบอาหารภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้
บังคับ เมื่อยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ได้รับการผ่อนผันการปฎิบัติตาม
ข้อ 12 ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และให้คงใช้
ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดแต่ด้องไม่เกินสองปี นับแต่
วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมี่อพ้นภำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วัน
ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2543

(ลงชื่อ) กร ทัพพะรังสี
(นายกร ทัพพะรังสี)
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข

(คัดจากราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 118 ตอนพิเศษ 6 ง. ลง
วันที่ 24 มภราคม 2544)

รับรองสำเนาถูกต้อง
(นางสาวจิรารัตน์ เทศะศิลป์)
นักวิชาการอาหารและยา 5

2553-08-03

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเช่าสถานที่เพื่อเปิดร้านกาแฟ

ร้านกาแฟ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเช่าสถานที่เพื่อเปิดร้านกาแฟ
ก่อนการตัดสินใจเช่าสถานที่เพื่อเปิดร้านกาแฟมีสิ่งที่เราต้องใส่ใจมากๆหลายอย่าง อย่างเช่นสำรวจบริเวณรอบๆทำเลที่เราตัดสินใจ การวิเคราะห์ประเมินที่ตั้ง การดูกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พีจารณาเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ร้านแห่งนี้มีแผนการอะไรหรือเปล่า จะมีโครงการปรับเปลี่ยน
หรือเวนคืนหรือไม่ ทำความเข้าใจเรืองข้อตกลงในการเช่าหรือจะลองเจรจากับเจ้าของให้ลดค่าเช่าลงอีกได้หรือไม่ หรืออาจจะลดจำนวนเงินลงทุน แต่ใช้วิธีเพิ่มระยะเวลาในการกู้ยืมแทน เจ้าของกิจการโดยส่วนใหญ่จะแนะนำผู้ประกอบการรายใหม่ว่า ช่วงแรกของการทำกิจการอย่าเพิ่งเช่าในระยะยาว ควรทำสัญญาเพียง1ปีก่อน รอให้มีแนวทางในการดำเนินกิจการหรือคืนทุนเสียก่อน แล้วค่อยต่อสัญญาเช่าในระยะยาวก็ได้

เพราะว่ากำไรในการเปิดร้านกาแฟนั้นไม่ได้มากมายอะไร ระยะเวลาคืนทุน อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย1-5 ปีก็ได้ เพราะแค่เริ่มต้นก็ลงทุนก็ต้องเสียค่าออกแบบตกแต่งร้านไป เป็นจำนวนมาก ทำกิจการไป3-5 ปี ก็คงจะยังไม่ได้ต้นทุนคืน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ หลังจากเช่าไป 1-2 ปีแล้วเจ้าของไม่ให้เช่าต่อ ยังไม่ทันได้ทุนคืน ก็ขาดทุนไปกับค่าตกแต่งเสียแล้ว เจ้าของร้านกาแฟส่วนใหญ่จึงแนะนำผู้ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ว่า หากเช่าไม่ถึง 5 ปี ทางที่ดีก็อย่ารีบเปิดร้านกาแฟ ถ้าเจ้าของทีไม่ยอมให้เช่าถึง 5 ปีอย่างน้อยก็ต้องเช่าสัก 3 ปี

ข้อควรระวังเป็นพิเศษในด้านอื่นๆ อีก เช่น

1. เปรียบเทียบค่าเช่ากับบริเวณใกล้เคียงกันก่อนว่าค่าเช่า แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
การยอมรับค่าเช่าที่สูงลิบเพียงเพราะต้องการจะเปิดร้าน ในอนาคตมันจะกลายเป็นความกดดันในการประกอบ กิจการก็เป็นได้

2. ไม่ว่าจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนเป็นบริษัท ก็ต้องมีที่อยู่ของที่ตั้งนั้นๆ ตอนที่ตัดสินใจเช่าบ้านจะต้องขอให้ทะเบียนบ้านจากเจ้าของที่ และหลังจากได้รับหนังสือยินยอนจากเจ้าของว่าให้จัดตั้งบริษัทหรือจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว ก็เซ็นต์สัญญากับเจ้าของที่ อย่าเซ็นต์สัญญาแล้วค่อยจัด
ตั้งบริษัททีหลังเป็นอันขาด เพราะจะไมสามารถยกเลิกการเช่าและต้องฝืนใจทำกิจการต่อไป

3. หากเปิดร้านกาแฟ ร้านแห่งนี้ถูกต้องตามกฎการจดทะเบียนหรือไม่ เช่นการใช้ที่ดินและการก่อสร้าง รวมถึงเรื่เงความปลอดภัย เป็นต้น
4. สอบถามให้ชัดเจนว่าคนที่ให้เช่าเป็นเจ้าของเองหรีอเปล่า ต้องรู้ก่อนว่าคนที่เซ็นต์สัญญามีสิทธิ์ในการครอบครองจริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าเช็นต์สัญญาและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วแล้วจึงพบว่าเจ้าของเป็นอีกคน
5. ต้องบอกให้เจ้าของรู้ว่าคุณมีความคิดที่จะทำกิจการในระยะยาว และต้องเข้าใจแนวคิดในการให้เช่าของเจ้าของด้วย เช่นว่าเจ้าของมีความกดดันเรื่องการเงินหรือเปลา ต้องการให้เช่าในระยะยาวหรือไม่ หรือว่าหากได้ราคาดีก็คิดจะขายทิ้งไป สิ่งที่กลัวที่สุดในการทำการค้าก็คือ ลงทุนจ่ายค่าเช่าไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อทำการค้าไปได้ 1-2 ปี เจ้าของกลับต้องการขอคืนห้องเพื่อขายทิ้ง ในตอนนั้นคุณอาจจะยังไม่ได้ค่าตกแต่งและเงินลงทุนในช่วงแรกคืนเสียด้วยซ้ำ และต้อง
เริ่มต้นใหม่ การหาเจ้าของที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเจ้าของที่ดีจะสนับสนุนความคิดของคุณในการประกอบกิจการระยะยาว

6. เวลาเซ็นต์สัญญาจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงการปรับค่าเช่าในแต่ละปีรวมถึงความต่อเนื่องของสัญญา โดยเฉพาะเรื่องร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นว่า หลังจากสร้างรายได้ได้แล้วเจ้าของที่กลับอิจฉา เมื่อครบกำหนดชำระค่าเช่าจึงถือโอกาสขึ้นราคา หากเจอเจ้าของที่เมื่อครบกำหนดแล้วปรับราคาขึ้น อาจจะมีทางเลือกอยู่สองทางคือ หนึ่งยอมกัดฟันจ่ายค่าเช่าเพิ่ม สองคือหาร้านแห่งใหม่ สร้างห้องครัวใหม่ หากเป็นเช่นนั้นเวลาที่ใช้ใปกับการลงทุนและเงินที่ใช้ไปกับการตกแต่งร้าน ในช่วงแรกก็เท่ากับว่าต้องละลายไปกับน้ำเพราะฉะนั้นตอนทำสัญญาเช่าต้องระบุแน่ชัดในสัญญาให้ชัดเจนว่า ค่าเช่า เป็นเท่าใด ระยะเวลาคงที่เท่าใด ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในข้อตกลงเรื่องการปรับเพิ่มค่าเช่า
7. ปัญหาด้านกฎหมาย จะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน การเซ็นต์สัญญาเช่ากับเจ้าของนั้นตัวอย่างหนังสือสัญญาเช่าสำเร็จรูปนั้น รัฐบาลได้ตีพิมพ์เป็นตัวอย่างไว้ด้วย หรืออาจจะเข้าไปดูตัวอย่างในอินเตอร็เนทใด้ หรือดูจากเว็บใซต์ต่างๆได้ หากข้อตกลงบางเรื่องไม่มีอยู่ในสัญญาสำเร็จรูป ก็ควรจะระบุเพื่อลงใปให้ชัดเจน ไว้ตอนเช็นต์สัญญาด้วย

8. หากต้องซ่อมแทรกห้องเช่า ต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย หรือในอนาคตตอนคืนห้องจะต้องทำให้กลับฟูสภาพเดิมหรือไม่ หากจะต้องคืนในสภาพเดิมก็ควรถ่ายรูปและเก็บรักษาไว้ในที่ที่หาเจอ เพื่อไม่ให้ตีความขัดแย้งกันในภายหลัง

ข้อควรระวังในการแบ่งเช่าหรือหักส่วนแบ่ง
ร้านกาแฟ อาจจะตั้งอยู่ในย่านธุรกีจอย่างเช่นห้างสรรพสินค้า ร้านหนังสือ โรงพยาบาล ตึกสำนักงานหรือสวนวิทยาศาสตร์ก็ใด้ อาจจะแบ่งเช่าจากร้านอื่น หรือจะใช้วธีหักส่วนแบ่งเอาก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการแบ่งนขาจากร้านอื่น
1. ต้องคุยกับเจ้าของใหญ่โดยตรง เพื่อหลีกเลียงการคุยกับเจ้าของคนรอง เพราะค่าเช่าอาจจะค่อนข้างแพง ภายหลังหากมีความขัดแย้งเรืองค่าเช่าจะจัดการได้ยาก

2 ธุรกิจที่เหมาะจะไปร่วมกิจการกับร้านกาแฟ ต้องมีลักษณะที่เงียบสงบพอๆ กัน เช่นธุรกิจเกี่ยวกับศิลปะ ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า เป็นต้น กิจการที่มีเสียงดังอึกทึกอย่างส่วนสนุกนั้นไม่
ควรอย่างยิ่ง ถ้าบ้านที่ไปร่วมด้วยเป็นร้านอาหารก็ต้องระวังว่าต้องไม่ขายอาหารที่มีกลิ่นแรง อย่างเช่นพวกเต้าเจี้ยวก็ดูจะไม่เหมาะกับร้านกาแฟนักหากใช้วิธีการหักส่วนแบ่ง จะต้องระวังว่า

1. ส่วนแบ่งทีหักนั้นต้องไม่มากจนเกินไป โดยทั่วไปแล้วการหักส่วนแบ่งจะหักประมาณ 20%ของผลประกอบการ

2. เนื่องจากฟวนแบ่งที่เจ้าของได้รับเท่ากับค่าเช่าและค่าใช้จ่ายจุกจิกอกมากมาย จะต้องระมัดระวังว่าส่วนแบ่งนั้นรวม ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ด้วยหรือไม่ไม่เช่นนั้นต้นทุนที่สูงเกีนไปอาจจะทำให้ไม่ใด้กำไรจากการเปิดร้านกาแฟก็เป็นได้