วันนี้มีตัวอย่างร้านกาแฟสดที่น่าสนใจมาฝากครับ ให้ลองศึกษษข้อมูลเพื่อเป็นไอเดีบธุรกิจร้านกาแฟ เผื่อจะนำไปใช้ได้ต่อไปในการจัดการร้านกาแฟของคุณเองต่อไป
ร้านกาแฟ Thom Artisan Coffee ของคุณ ธวัชชัย โศภนะศุกร์ ร้านกาแฟติดล้อ ที่ไม่ต้องห่วงเรื่องสถานที่
หลังจากลองทำงานมาหลายอย่างแล้ว แต่ก็ใม่ประสบความสำเร็จ คุณธวัชชัยจึงตัดสินใจเปิดร้านกาแฟ Thom
Artisan Coffee โดยก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2548 ปัจจุบันก็เกือบครบสามปีแล้ว ด้วยความที่ชอบกาแฟเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาจึงประกอบกิจการกาแฟอย่างมีความสุข ถึงตอนนี้เขาเปิดร้านกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ไปแล้วสองแห่ง
แห่งหนึ่งเป็นร้านกาแฟบนรถตู้ซึ่งจอดขายประจำอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเขียงใหม่ อีกแห่งหนึ่งเป็นร้านคั่วและจำหน่ายกาแฟ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต
เขาตัดสินใจเปิดร้านกาแฟบนรถตู้ Thom Artisan Coffee ไม่ใช่เพื่อความแตกต่างหรือความแปลกใหม่อะไร แต่เป็นเพราะเหตุผลด้านการเงิน เนื่องจากไม่มีเงินทุนมากพอที่จะเปิดเป็นร้านได้ เขาจึงนำรถตู้ที่มีอยู่ที่บ้านมาดัดแปลงเป็นร้านกาแฟ แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่สามารถจัดพื้นที่ให้ลูกค้านั่งพักได้อย่างเต็มที่ จะมีก็เพียงพื้นที่ด้านข้างรถซึ่งรองรับลูกค้าได้ประมาณ 4-5 คนและพื้นที่ด้านหลังรถอีกเล็กน้อย ถึงแม้จะมีข้อเสียด้านพื้นที่ที่มีจำกัด แต่ร้านกาแฟบนรถตู้ก็ยังมีข้อดีที่แตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไปคือ เขาสามารถย้ายร้านกาแฟของเขาไปตามที่ต่างๆ ได้ จริงอยู่ที่เขามักจะจอดขายประจำอยู่ด้านหลังมหาวิฬยาลัยเชียงใหม่ แต่หากมีคนต้องการให้ Thom Artisan Coffee ไปบริการตามที่ต่างๆ เขาก็สามารถทำใด้ อย่างเช่น ตามกองฝ่ายนอกสถานที่เพื่อให้บริการเครื่องดื่มแก่นักแสดงและทีมงาน หรือคณะทัวร์ที่ต้องการสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวในด้านการตกแต่ง คุณธวัชชัยคิดว่าคนไทยเติบโตมากับบ้านไม้ เขาจึงตกแต่งร้านกาแฟบนรถตู้ของเขาด้วยไม้ โดยนำมาทำเป็นพื้นและเพดานของรถ เขารู้สึกว่าการใช้วัสดุที่ทำจากไม้มาตกแต่งจะช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในบ้าน ไม้ที่เขาเลือกใช้เป็นไม้ที่มีเนื้อไม้สีอ่อนอย่างเช่น ไม้สีดาเพื่อทำให้ดูสว่าง ส่วนร้านคั่วกาแฟในริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ตตกแต่งด้วยสไตล์โมเดิร์น เนื่องจากเช่าพื้นที่ของทางซุปเปอร์มาร์เก็ต เขาจึงไม่สามารถปรับแต่งพื้นที่โดยใช้ไม้ได้ เพราะจะทำให้ดูแปลกแยกจากร้านอื่นๆ ในบรีเวณนั้น
นอกจากร้านกาแฟแบบเคลื่อนที่แล้ว จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Thom Artisan Coffee ก็คือเมล็ดกาแฟที่เลือกใ้ช้เพราะนอกจากกาแฟสใตล์อิตาลีทั่วไปอย่างเอสเพรสโซแล้ว ร้านแห่งนี้ยังมีกาแฟสูตรพิเศษอย่างพีเบอร์รี่คอฟฟี่ อีกด้วยเมนูนี้ทำจากเมล็ดกาแฟพีเบอร์รี่ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายเมล็ดถั่ว เนื่องจากกาแฟพีเบอร์รี่ค่อนข้างหายาก ราคาของเมล็ดกาแฟชนิดนี้จึงค่อนข้างสูง และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่มีการโฆษณาประชาลัมพันธ์กาแฟชนิดนี้อย่างแพร่หลายในท้องตลาด Thom Artisan Coffee จอดขายประจำอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่กลุ่มลูกค้าหลักของร้านนี้กลับไม่ใช่นักศึกษา แต่เป็นกลุ่มคนทำงานเสียมากกว่า เพราะนอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว ในบริเวณนั้นยังมีธนาคาร สถานที่ราชการและสำนักงานอีกหลายแห่งผลตอบรับจากลูกค้าก็เป็นที่น่าพอใจ
คุณธวัชชัยกล่าวว่าในช่วงแรกเขาขายกาแฟได้ปีละ 400-500 กิโลกรัม ปัจจุบันเขาขายได้ปีละ 3 ตัน ซึ่งก็นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับกิจการร้านกาแฟในประเทศไทย เขากล่าวว่า “ระยะหลังมานี้ลูกค้าจะเริ่มติดในตัวคนขาย และติดรสชาติของกาแฟด้วย” คุณธวัชชัย เชื่อว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะลูกค้าทราบว่ากาเเฟของเขาไม่เหมือนกับที่อื่น เขาจะให้ความสำคัญและใส่ใจในทุกขั้นตอนตั้งแต่การคั่ว การชง คุณภาพของกาแฟ รวมทั้งการบริการ ดังนั้นจึงมีลูกค้า แวะเวียนมาอุดหนุนที่ร้าน Thom Artisan Coffee อยู่เป็นประจำนอกจากความรักและความใส่ใจในการประกอบธุรกิจกาแฟแล้ว คุณธวัชชัยยังตั้งใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองอีกด้วย โดยไปศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับกาแฟจากศูนย์วิจัยและพัฒนากา แฟบนทีสูง ภาควิชาพืชสวนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนำมาปรับใช้กับร้านกาแฟของเขานอกจากด้านทั้งสองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว
ตอนนี้คุณธวัชชัยก็กำลังวางแผนขยายสาขาเพิ่มอีกสองแห่ง โดยอยู่ในเชียงใหม่หนึ่งแห่ง และในกรุงเทพฯ อีกหนึ่งแห่ง แต่เมื่อถามถึงการจำหน่ายเป็นแฟรนไชส์ คุณธวัชชัยกล่าวว่า เขาทราบดีว่าการควบคุมคุณภาพให้สมบูรณ์แบบในระบบแฟรนไชส์นั้นทำได้ยาก ประกอบกับข้อจำกัดของกาแฟพีเบอร์รี่ ทำให้เขาไม่ต้องการที่จะทำให้ Thom Artisan Coffee เป็นร้านระบบแฟรนไชส์
คุณธวัชชัยกล่าวว่า การเปิดร้านกาแฟให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีจุดยืนเป็นของตนเอง ต้องชอบดื่มกาแฟ มี
ความตั้งใจจริง มีความรักในอาชีพนี้และต้องศึกษาหาความรู้อย่างลึกซึ้ง เพียงแค่นี้ร้านของคุณก็จะสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองในรูปแบบของคุณเองตราบใดที่ล้อทั้งสี่ของร้านกาแฟบนรถตู้ Thom Artisan Coffee ยังคงหมุนไปอย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจของเจ้าของร้าน ธุรกิจของเขามักจะไม่มีวันหยุดนิ่งอยู่กับที่อย่างแน่นอน
อ่านแล้วเป็นไงบ้างครับ ได้ไอเดียอะไรในการปรับปรุงร้านกาแฟของตัวเองบ้างหรือยัง ถ้ายัง ก็ต้องศึกษากันต่อไป เพราะธุรกิจกาแฟเป็นธุรกิจที่มาพร้อมการหาความรู้แบบไม่หยุดนิ่ง
ที่มาภาพและข้อมูล หนังสือ คู่มือการเปิดร้านกาแฟฉบับสมบรูณ์
2554-06-24
2554-06-09
เปิดร้านกาแฟ ต้องใช้ทุนเท่าไหร่?
การเปิดร้านกาแฟสักแห่งย่อมต้องใช้เงินลงทุน แต่จานวนเงินลงทุนก็แตกตาเกินไปตามขนาดของร้าน ตั้งแตร้านขนาด เล็กหรือเคาน์เตอร์บาร์กลางแจ้งแบบไม่มีทีนั่ง ไปจนถึงร้านขนาดใหญ่แบบมีที่นั่ง มีพื้นที่ 150-200 ตารางเมตร ซึ่งใช้เงิน ทุนตั้งแต่สามแสนถึงห้าแสนไปจนถึงหกล้านเลยก็มี ส่วนการใช้เงินที่มากถึงหลักสิบล้านในการสร้างร้านกาแฟนั้น สิ่ง สำคัญก็คงกำหนดจากรูปแบบการดำเนินกิจการ จำนวนและระดับของอุปกรณ์ และยังมีขนาดของกิจการ บรรยากาศของ กิจการรวมทั้งอุปกรณ์การตกแต่งด้วย
ภาพจากtoplaza.com
**ตัวอย่างกรณ๊ศึกษา ร้านกาแฟในใต้หวัน ความแตกต่างอยู่ที่ ราคาเช่าที่ ที่แพงกว่าและการตกแต่งที่สูง ทำให้ใช้เงินลงทุนมากกว่าบ้านเรามากนัก แต่ก็พอเป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบได้
อวี๋หย่งควนเจ้าของร้านหนัวเวยเซินหลินและเฉินยุ่ยหยงเจ้าของร้านหมี่หลางฉีอาศัยประสบการณ์หลายปีในการเปิดร้านกาแฟมาวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดปัจจุบันว่าการเปิดร้านกาแฟในปัจจุบันอย่างน้อยต้องมีเงินสามล้านหยวนจึงจะสามารถเปิดร้านกานนฟที่มีพื้นที มีคุณภาพและมีความสามารถในการแขงขันได้
เงินลงทุนในการเปิดร้านจริงๆ แล้วควรจะคำนวณอย่างไร? หากดูจากคำแนะนำของเจ้าของร้านอาวุโสทั้งหลาย แล้ว ก็มีดังนี้ :
**เงินลงทุนทั้งหมด = ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน + เงินทุนหมุนเวียนในช่วง 3-6 เดือน
*ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเปิดร้านกาแฟ = ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นกิจการ + อุปกรณ์ + การติดตั้งภายในร้าน + เคาน์เตอร์บาร์ + การติดตั้งห้องครัว + การตกแต่ง + การซื้อวัตถุดิบเข้าร้านครั้งแรก
. ใ้ช้จ่ายในการเริ่มต้นกิจการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจ้างพนักงานประจำ ค่าเช่าก่อนเปิดกิจการ เงินประกัน เป็นต้น
. อุปกรณ์: เครื่องชงกาแฟ เครื่องบดเมล็ด ภาชนะ เป็นต้น
. การติดตั้งภายในร้าน: เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง เคาน์เตอร์เก็บเงิน เป็นต้น
. เคาน์เตอร์บาร์ : การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ทีจำเป็นบริเวณด้านหน้าและด้านหลังเคาน์เตอร์บาร์ เป็นต้น
. การติดตั้งห้องครัว: ถ้าจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะเป็นอาหารแบบง่ายๆ ก็อาจจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องครัวแบบง่ายๆ เช่น เตาอบ ตู้เย็น เป็นต้น
. การตกแต่ง: ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง ป้ายชื่อร้าน ไฟฟ้า ของตกแต่ง เป็นต้น
. การซื้อวัตถุดิบเข้าร้านครั้งแรก: เมล็ดกาแฟ น้ำตาล นมสด กระดาษทิชชู่ ถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้ง (take away) เป็นต้น
*เงินหมุนเวียนในช่วง 3-6 เดือน = (ค่าใช้จ่ายพนักงาน + ค่าเช่าร้าน + ค่าน้ำ + ค่าไฟ + + วัตถุดิบต่างๆ เช่น เมล็ดกาแฟ)x 3-6 เดือน
. ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน : เจ้าของร้าน เงินเดือนพนักงาน เงินประกันสุขภาพ
. ค่าเช่าร้าน: ค่าเช่าแต่ละเดือน
. ค่าสาธารณูปโภค: ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ การจดการตางๆ เป็นต้น
. ค่าใช้จายด้านวัตถุดิบต่างๆ: เมล็ดกา*ฟ นมสด เนย น้ำตาล ขนมเค้ก เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่จะแนะนำว่า ที่ต้องเตรียมเงินหมุนในช่วง 3-6 เดือนเอาได้ด้วย ก็เนื่องจากร้านกาแฟโดย ทั่วไปจะต้องเปิดกิจการเกินครึ่งปีเสียก่อน จึงจะดูออกว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นก่อนเปิดร้านจึงต้องมี แผนการที่จะพยุงสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเอาไว้ด้วย ถ้าไม่มีลูกค้า ไม่มีรายได้ แต่ร้านแห่งนี้ก็ยัง สามารถจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของร้านได้
*โจวเวินเผย รองกรรมการผู้จัดการของกาแฟอิลลี่ประเมินว่า โดยทั่วไปแล้ว คนทีเตรียมเงินทุนไว้ 1500,000 หยวนถึง (1 หยวน ประมาณ 5 บาท) - 4,000,000 หยวนจะสามารถเปิดร้านกาแฟที่มีคุณภาพไจ้ ถ้าเงินลงทุนเกิน 4,000,000 หยวน ระยะเวลาในการคืนทุนก็จะ ยืดออกไปอีก ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดและประเมินดูว่าตัวเองมีเงินทุนและความอดทนเพียงพอหรือ ไม่ที่จะดำเนินกิจการต่อไปในระยะยาว และรอจนกระทั่งได้เงินทุนคืน
*กัวอวี้หยูเจ้าของร้านกาแฟสไตล์อิตาลีข่าว่าลี่อาศัยประสบการณ์การเป็นพนักงานบวิการในบริษัทครีเอชั่นฟู้ดและในร้านกาแฟที่มีขนาดแตกต่างกัน จึงเข้าใจเรื่องการใช้ เงินลงทุนในแต่ละร้านและสรุปว่า ภายใต้พื้นที่ที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะสามารถรักษาขอบเขตของเงินทุนให้คงที่ได้ ซึงเราสามารถนำการประเมินแบบง่ายที่สุดนี้มาประเมินเงินลงทุนที ต่ำที่สุดในการเปิดร้านได้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไร
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็คำนวณจากการตกแต่งและการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แต่เงินลงทุนที่แท้จริงนั้นจะไปอยู่ที่รูปแบบของร้านเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากฟวนของการตกแต่งเป็นปัจจัย ที่มีผลต่อเงินลงทุนมากที่สุด ดังนั้นบ้านที่มีขนาดเท่ากัน บางคนอาจจะตกแต่งไป 400,000 หยวน แต่บางคนกลับใช้ไปถึง 2,000,000 หยวน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของร้าน
10-15 ตารางเมตร ประมาณ 1,000,000 หยวน - 1 500,000 หยวน
15-30 ตารางเมตร ประมาณ 1,500,000 หยวน - 2,000,000 หยวน
30-45 ตารางเมตร ประมาณ 2,000,000 หยวน - 2,500,000 หยวน
ที่มา หนังสือคู่มือการเปิดร้านกาแฟฉบับสมบรูณ์
ภาพจากtoplaza.com
**ตัวอย่างกรณ๊ศึกษา ร้านกาแฟในใต้หวัน ความแตกต่างอยู่ที่ ราคาเช่าที่ ที่แพงกว่าและการตกแต่งที่สูง ทำให้ใช้เงินลงทุนมากกว่าบ้านเรามากนัก แต่ก็พอเป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบได้
อวี๋หย่งควนเจ้าของร้านหนัวเวยเซินหลินและเฉินยุ่ยหยงเจ้าของร้านหมี่หลางฉีอาศัยประสบการณ์หลายปีในการเปิดร้านกาแฟมาวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดปัจจุบันว่าการเปิดร้านกาแฟในปัจจุบันอย่างน้อยต้องมีเงินสามล้านหยวนจึงจะสามารถเปิดร้านกานนฟที่มีพื้นที มีคุณภาพและมีความสามารถในการแขงขันได้
เงินลงทุนในการเปิดร้านจริงๆ แล้วควรจะคำนวณอย่างไร? หากดูจากคำแนะนำของเจ้าของร้านอาวุโสทั้งหลาย แล้ว ก็มีดังนี้ :
**เงินลงทุนทั้งหมด = ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน + เงินทุนหมุนเวียนในช่วง 3-6 เดือน
*ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเปิดร้านกาแฟ = ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นกิจการ + อุปกรณ์ + การติดตั้งภายในร้าน + เคาน์เตอร์บาร์ + การติดตั้งห้องครัว + การตกแต่ง + การซื้อวัตถุดิบเข้าร้านครั้งแรก
. ใ้ช้จ่ายในการเริ่มต้นกิจการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจ้างพนักงานประจำ ค่าเช่าก่อนเปิดกิจการ เงินประกัน เป็นต้น
. อุปกรณ์: เครื่องชงกาแฟ เครื่องบดเมล็ด ภาชนะ เป็นต้น
. การติดตั้งภายในร้าน: เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง เคาน์เตอร์เก็บเงิน เป็นต้น
. เคาน์เตอร์บาร์ : การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ทีจำเป็นบริเวณด้านหน้าและด้านหลังเคาน์เตอร์บาร์ เป็นต้น
. การติดตั้งห้องครัว: ถ้าจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะเป็นอาหารแบบง่ายๆ ก็อาจจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องครัวแบบง่ายๆ เช่น เตาอบ ตู้เย็น เป็นต้น
. การตกแต่ง: ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง ป้ายชื่อร้าน ไฟฟ้า ของตกแต่ง เป็นต้น
. การซื้อวัตถุดิบเข้าร้านครั้งแรก: เมล็ดกาแฟ น้ำตาล นมสด กระดาษทิชชู่ ถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้ง (take away) เป็นต้น
*เงินหมุนเวียนในช่วง 3-6 เดือน = (ค่าใช้จ่ายพนักงาน + ค่าเช่าร้าน + ค่าน้ำ + ค่าไฟ + + วัตถุดิบต่างๆ เช่น เมล็ดกาแฟ)x 3-6 เดือน
. ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน : เจ้าของร้าน เงินเดือนพนักงาน เงินประกันสุขภาพ
. ค่าเช่าร้าน: ค่าเช่าแต่ละเดือน
. ค่าสาธารณูปโภค: ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ การจดการตางๆ เป็นต้น
. ค่าใช้จายด้านวัตถุดิบต่างๆ: เมล็ดกา*ฟ นมสด เนย น้ำตาล ขนมเค้ก เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่จะแนะนำว่า ที่ต้องเตรียมเงินหมุนในช่วง 3-6 เดือนเอาได้ด้วย ก็เนื่องจากร้านกาแฟโดย ทั่วไปจะต้องเปิดกิจการเกินครึ่งปีเสียก่อน จึงจะดูออกว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นก่อนเปิดร้านจึงต้องมี แผนการที่จะพยุงสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเอาไว้ด้วย ถ้าไม่มีลูกค้า ไม่มีรายได้ แต่ร้านแห่งนี้ก็ยัง สามารถจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของร้านได้
*โจวเวินเผย รองกรรมการผู้จัดการของกาแฟอิลลี่ประเมินว่า โดยทั่วไปแล้ว คนทีเตรียมเงินทุนไว้ 1500,000 หยวนถึง (1 หยวน ประมาณ 5 บาท) - 4,000,000 หยวนจะสามารถเปิดร้านกาแฟที่มีคุณภาพไจ้ ถ้าเงินลงทุนเกิน 4,000,000 หยวน ระยะเวลาในการคืนทุนก็จะ ยืดออกไปอีก ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดและประเมินดูว่าตัวเองมีเงินทุนและความอดทนเพียงพอหรือ ไม่ที่จะดำเนินกิจการต่อไปในระยะยาว และรอจนกระทั่งได้เงินทุนคืน
*กัวอวี้หยูเจ้าของร้านกาแฟสไตล์อิตาลีข่าว่าลี่อาศัยประสบการณ์การเป็นพนักงานบวิการในบริษัทครีเอชั่นฟู้ดและในร้านกาแฟที่มีขนาดแตกต่างกัน จึงเข้าใจเรื่องการใช้ เงินลงทุนในแต่ละร้านและสรุปว่า ภายใต้พื้นที่ที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะสามารถรักษาขอบเขตของเงินทุนให้คงที่ได้ ซึงเราสามารถนำการประเมินแบบง่ายที่สุดนี้มาประเมินเงินลงทุนที ต่ำที่สุดในการเปิดร้านได้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไร
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็คำนวณจากการตกแต่งและการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แต่เงินลงทุนที่แท้จริงนั้นจะไปอยู่ที่รูปแบบของร้านเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากฟวนของการตกแต่งเป็นปัจจัย ที่มีผลต่อเงินลงทุนมากที่สุด ดังนั้นบ้านที่มีขนาดเท่ากัน บางคนอาจจะตกแต่งไป 400,000 หยวน แต่บางคนกลับใช้ไปถึง 2,000,000 หยวน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของร้าน
10-15 ตารางเมตร ประมาณ 1,000,000 หยวน - 1 500,000 หยวน
15-30 ตารางเมตร ประมาณ 1,500,000 หยวน - 2,000,000 หยวน
30-45 ตารางเมตร ประมาณ 2,000,000 หยวน - 2,500,000 หยวน
ที่มา หนังสือคู่มือการเปิดร้านกาแฟฉบับสมบรูณ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)